Bill of Lading ใบตราส่งทางทะเล

Bill of Lading ใบตราส่งทางทะเล

 

ใบตราส่งทางทะเลเป็นเอกสารที่สำคัญมากในการนำสินค้าจากประเทศต้นทางไปยังปลายทาง โดยการขนส่งผ่านทางเรือ มักเรียกกันย่อๆ ว่า B/L และมีชื่อเต็มว่า Ocean Bill of Lading

เนื่องจากเป็นเอกสารที่ออกโดยสายเรือ (Sea Freight / Liners) หรือ ตัวแทนสายเรือ (Freight Forwarder) เพื่อทำหน้าที่สำคัญหลายประการดังนี้

  1. เป็นสัญญารับจ้าง เพื่อบอกกับผู้ส่งออก (Shipper) ว่าจะส่งสินค้าตามที่ระบุไว้ในเอกสารนี้ โดยรับจากท่าเรือต้นทาง ไปส่งยังท่าเรือปลายทาง เพื่อส่งมอบต่อให้กับผู้นำเข้า (Consignee) ตามข้อมูลในเอกสารนี้เช่นกัน โดยเอกสาร B/L
  2. เป็นใบเสร็จรับเงินค่าบริการ รวมถึงการประกันภัยโดยสายเรือ ว่าจะส่งมอบสินค้าให้ตามที่ตกลงไว้ในเอกสาร
  3. เป็นเอกสารสิทธิ ในกรณีทั่วไป การที่ผู้นำเข้าจะไปรับของจากสายเรือนั้น ต้องนำเอกสารสิทธินี้คือ B/L ฉบับจริง ไปส่งมอบให้กับสายเรือ เพื่อยืนยันว่าเป็นตัวจริงเสียงจริง หากไม่มีเอกสารตัวจริงแล้ว สายเรือจะไม่ยอมปล่อยสินค้าออกจากเรือนั่นเอง ทั้งนี้ เป็นการทำเพื่อป้องกันการแอบอ้างสิทธิในตัวสินค้า รวมถึงยังช่วยในกรณีผู้นำเข้ายังไม่ได้ชำระเงินแก่ผู้ส่งออก ทำให้ผู้ส่งออกไม่ส่งเอกสาร B/L ให้ผู้นำเข้านั่นเอง

ประเภทและเงื่อนไขของ Bill of Lading (B/L)

  1. Surrendered B/L ในกรณีที่ผู้ส่งสินค้าไม่ต้องการส่งเอกสารจริงให้ผู้รับปลายทาง ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลด้านการชำระเงิน หรือความสะดวกในการทำการค้า ผู้ส่งสินค้ามีสิทธิสละสิทธิการครอบครองสินค้านั้น โดยการแจ้งสายเรือหรือตัวแทนสายเรือว่าขอสละสิทธิ์สินค้า หรือที่เรียกว่า B/L Surrender โดยเมื่อสละสิทธิแล้ว ผู้นำเข้าปลายทางมีสิทธิในการไปรับสินค้าจากสายเรือ โดยไม่ต้องใช้เอกสารตัวจริง อาจจะเป็นไฟล์สแกนจากอีเมล หรือใบตราส่งฉบับสำเนาก็ได้เช่นกัน
  2. Through B/L คือใบตราส่งสินค้าที่ใช้กับการขนส่งทั้งทางบกและทางทะเล อาจจะเป็นเรือต่อรถ หรือ รถต่อเรือก็ได้ เมื่อมีการขนส่งประเภทนี้ ผู้ให้บริการส่งสินค้าคนแรกจะเป็นคนออกเอกสารนี้
  3. Charter Party B/L เป็นใบตราส่งที่ผู้รับสินค้า ได้ใช้เรือจ้างอิสระ หรือเรือจ้างเหมา มารับสินค้า

สถานะของ Bill of Lading (B/L)

  1. Received For Shipment B/L เป็นใบตราส่งที่มีลักษณะเป็นสัญญาว่าได้รับสินค้าเพื่อทำการส่ง แต่ยังไม่ได้ระบุเรือที่แน่ชัด
  2. Shipped on B/L สถานะนี้แสดงว่าสินค้าได้ถูกนำไปวางบนเรือเรียบร้อยแล้ว
  3. Clean on Board B/L เป็นคำระบุใน B/L ว่าสินค้าที่ได้รับมามีสภาพเรียบร้อย
  4. Unclean B/L สถานะของ B/L ที่ระบุว่าสินค้าที่ส่งนั้นอยู่ในสภาพเสียหาย ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกควรเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทเรือหรือบริษัทประกันภัยก่อนรับสินค้า

ลำดับเอกสารของ Bill of Lading (B/L)

สำหรับผู้ที่ส่งออก รวมถึงผู้นำเข้า จะสังเกตว่าเมื่อไหร่ที่เราได้เอกสาร Bill of Lading นั้น จะมีจำนวนเอกสารหลายชุด แต่ละชุดจะเขียนชื่อไม่ซ้ำกัน โดยแต่ละเอกสารมีความหมายดังนี้

Original B/L ต้นฉบับ

Duplicate B/L คู่ฉบับที่ 1

Triplicate B/L คู่ฉบับที่ 2

Copy B/L สำเนา

เมื่อเงื่อนไขการขนส่งไม่ใช่ Surrender ผู้ส่งออกมีหน้าที่ต้องส่งเอกสารฉบับจริง ได้แก่ Original, Duplicate, Triplicate ให้ผู้นำเข้า หรือที่มักเรียกว่า 3/3 Bill of Lading นั่นเอง

 

สนใจเรียนรู้เรื่องเอกสารเพิ่มเติม เอกสารนำเข้าส่งออก

สนใจคอร์สเรียนเอกสารนำเข้าส่งออก คอร์สเอกสารนำเข้าส่งออก

สนใจเรียนนำเข้าส่งออก ดูคอร์สต่างๆ ได้ที่นี่ครับ 

บทความเกี่ยวข้อง

Leave a Comment