การค้าชายแดน – ลืมไปให้หมดว่ากฏคืออะไร

เมื่อหลายปีก่อน ประเทศไทยมีคำๆ นึงที่ฮิตกันมากคือคำว่า AEC ไทยเราจะเข้าสู่ AEC กันแล้ว เราจะต้องปรับตัวกันใหญ่โตมโหฬาร ใครไม่ปรับตัวคนนั้นไม่รอด ซึ่งมันก็มีทั้งเรื่องจริงและไม่จริง อย่างไรก็ตามสิ่งที่เปลี่ยนไปมากๆ คือ ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ CLMV – Cambodia + Laos + Myanmar + Vietnam มีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้นอย่างเยอะมาก และการค้าที่มากที่สุดไม่ใช่การค้าแบบส่งออกนำเข้าส่งเรือกัน แต่กลับกลายเป็นการค้าชายแดน

การค้าชายแดนนั้นจริงๆ แล้วมีมานานมากแล้วครับ แค่มันไม่บูมเท่าตอนนี้ สมัยก่อนเราจะเคยได้ยินคำว่า ปิดด่าน เพราะเราทะเลาะกัน เช่น ปิดด่านแม่สอด เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับการรบกันในประเทศเพื่อนบ้านแล้วหนีเข้ามา หรือ ปิดด่านสระแก้ว เพราะรัฐบาลสองประเทศมีปัญหากันด้านความสัมพันธ์ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งประชาชนในแถบนั้นก็ค่อนข้างหวาดผวา เพราะเข้าออกชายแดน มีแต่ความเสี่ยง ไม่รู้จะโดนกักตัวเมื่อไหร่ วันไหนด่านจะปิด ปิดทีก็ไม่ได้ค้าขายกัน รายได้ไม่เข้าเลย

อย่างไรก็ตาม เรื่องเหล่านี้กลายเป็นอดีตไปแล้ว ทุกประเทศสนใจการค้ามากกว่าการรบ เงินมาก่อนปืน ทุกคนเก็บปืน เอาเงิน เอาของมาขายกันแทน

ในทุกๆ ประเทศที่เราทำการค้าขายนั้น จะทำตามขั้นตอนตลอดไม่ว่าจะเป็นการหาลูกค้า การส่งสินค้าทางเรือ ทางอากาศ หรือการเก็บเงินแบบให้เครดิต การทำ L/C (เหมือนที่เรียนกันในบทเรียนของเรา) แต่การค้าชายแดนนั้นไม่เหมือนกันเลย คุณสามารถนำสินค้าไปหาคู่ค้าโดยการผ่านแดนไปหาตลาดฝั่งนู้น หรือ คุณอาจจะฝากสินค้ากับร้านค้าในไทยที่อยู่ชายแดน และรอให้พ่อค้าประเทศเพื่อนบ้านมาซื้อกันก็ได้

สมมติว่าสินค้าของเราเป็นสินค้าที่คนรู้จักกันอย่างดีอยู่แล้ว ออกสื่อต่างๆ หรือดังในโลกออนไลน์ การนำสินค้าไปขายในประเทศเพื่อนบ้านกับในไทย จะมีภาพลักษณ์ต่างกัน

หากคุณขายในประเทศเพื่อนบ้าน สินค้านั้นคือสินค้าส่งออก ที่หาซื้อได้ทั่วไป พอเห็นตามสื่อไทยแล้ว ลูกค้าในนั้นก็สามารถหยิบซื้อได้เลย ตรงกันข้าม หากคุณขายในไทย สินค้าจะถูกมองว่าเป็นสินค้าที่ดูดี เพราะมันขายในไทย ไปซื้อมาจากไทยเลยนะ ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ก็ให้นึกถึงโฟมล้างหน้ายี่ห้อนึง ที่เมื่อก่อนคนไทยที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นมักจะหิ้วกลับฝากเพื่อนๆ เพราะมันใช้ดีมาก แต่ตอนนี้แบรนด์นี้นำมาขายในไทยแล้ว ความนิยมก็เลยลดลง กลายเป็นของหาไม่ยาก แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะยอดขายตกนะครับ ขึ้นอยู่กับบางสินค้าด้วย

สมมติว่าคุณอยากจะส่งสินค้าไปเวียดนาม คุณสามารถทำได้ทางไหนบ้างครับ คำตอบคือ มี 3 ช่องทางด้วยกัน

ช่องทางแรก ส่งของไปทางเรือ อันนี้ผมเคยใช้ เรือจากท่าเรือคลองเตยไปถึงท่าเรือโฮจิมินห์ ใช้เวลาแค่ 3 วันเท่านั้น ผ่านด่านไทย แล้วต้องไปผ่านด่านโฮจิมินห์ด้วย ใช้เวลาประมาณ 3-7 วันในการเคลียร์สินค้าขาเข้าฝั่งนู้น

ช่องทางที่สอง คือส่งเครื่องบินไป อันนี้ผมไม่เคยใช้ แต่คิดว่าเร็วมาก และเคลียร์ของได้เร็วสุดๆ จริงแล้วมีอีกวิธีที่ส่งทางอากาศแล้วสามารถเอาของได้เลยโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่ผมบอกไม่ได้จริงๆ อยากรู้ให้ถามหลังไมค์เอานะครับ

ช่องทางสุดท้าย กลายเป็นช่องทางที่ผมใช้บ่อยที่สุด ก็คือทางรถ การส่งของทางรถนั้นเร็วมากพอสมควร โดยจะเป็นการส่งแบบคาร์โก้ หรือการส่งที่สามารถเคลียร์พิธีศุลกากรแบบเหมาจ่าย รวมทั้งค่ารถ และค่าดำเนินพิธีศุลกากรผ่านทั้งกัมพูชาและเวียดนามในครั้งเดียวได้ เหมือนกับที่เรามีรถคาร์โก้หรือชิปปิ้งที่รับของจากจีนมาส่งไทยในราคาแบบเหมาจ่ายนั่นแหละครับ ซึ่งวิธีนี้สะดวกมาก ประหยัดค่าขนส่งมาก แต่มันเหมาะกับสินค้าบางประเภท และไม่เหมาะกับสินค้าบางประเภทนะครับ

สินค้าที่เหมาะจะส่งแบบนี้คือสินค้าจำนวนไม่เยอะมาก เช่น เราจะส่งไปสัก 5-10 ลัง หรือไม่เกิน 100 ลังก็พอส่งได้ ไม่สิ ต้องบอกว่าไม่เกิน 5 คิว น่าจะเหมาะสมกว่า ซึ่งการส่งสินค้าแบบนี้เราไม่ต้องใช้เอกสารอะไรเลย ผมเคยส่งอาหารที่ขายในไทย ไปเวียดนามประมาณ 100 ลัง ก็ส่งได้เลยนะครับ ปลายทางเค้ารับทันทีโดยไม่มีข้อแม้ ลองคิดดูสิ โอกาสทางการตลาดในเวียดนามมันกว้างใหญ่แค่ไหน ใกล้ๆ แค่นี้เอง หาให้เจอนะครับ

สินค้าที่ไม่เหมาะส่งมาทางนี้คือพวกของมีมูลค่า (แนะนำส่งแอร์) หรือของที่ต้องเสียภาษีให้ถูกต้อง หรือมีใบอนุญาตให้ถูกต้อง เช่น อาหารทั้งหลาย ในจำนวนเยอะๆ รวมถึงของที่จะเอาไปขายในโมเดิร์นเทรดเวียดนามด้วย เพราะเค้าต้องการอะไรแบบนี้

สำหรับใครที่อยากส่งสินค้าไปเวียดนามทางคาร์โก้ รวมถึงส่งไปกัมพูชาด้วย ก็ให้แวะไปที่ประตูน้ำนะครับ แถวนั้นเป็นแหล่งรับสินค้าเลย หาดูว่าชอบคาร์โก้เจ้าไหน มีคนพูดไทยได้อยู่กันเพียบ ไม่ต้องกลัว แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น คุณต้องไปหาลูกค้าที่เวียดนามก่อนนะครับ ให้ปลายทางเค้าโอเคก่อนแล้วค่อยส่งของไป ถ้าไม่มีคนรับของที่นั่น มันจะวุ่นวายมากครับ ฝากไว้ด้วย ช่องทางนี้

ติดตามบทความนำเข้าส่งออกได้ตามช่องทางเหล่านี้

โทร 093-2364951
Add Line ID @intertrader
Facebook: inter trader academy
Email: intertraderacademy@gmail.com
ลงทะเบียนที่นี่

บทความเกี่ยวข้อง

Leave a Comment