เอกสารที่ใช้ในการนำเข้าส่งออก เอกสารส่งออก เอกสารนำเข้า มีอะไรบ้าง

เอกสารการนำเข้าส่งออก เป็นอะไรที่ซับซ้อนมาก หากไม่ได้มีการศึกษาเข้าใจอย่างถ่องแท้ จะทำให้มีปัญหาในภายหลังได้ และการจะออกเอกสารนี้ได้ต้องอาศัยความรู้ประสบการณ์เป็นอย่างสูง

สำหรับผู้ที่เชียวชาญแล้ว เรื่องนี้อาจจะฟังดูเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย แต่สำหรับมือใหม่แล้ว เอกสารเป็นเรื่องสำคัญมากนะครับ วันนี้ผมจะมาอธิบายเอกสารหลักๆ ที่ผู้ส่งออกแทบทุกรายต้องรู้จัก ผ่านตา ผ่านมือกันมาบ้างแล้ว มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

ในการนำเข้าส่งออกนั้น เอกสารประกอบการใช้งานมีจำนวนเยอะมาก ซึ่งอาจทำให้ผู้ปฏิบัติงาน ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก เกิดความสับสนได้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ทางสถาบันได้แบ่งหมวดของเอกสารออกเป็น 4 หมวด ดังนี้

1) เอกสารการค้า (Commercial Document)

เป็นเอกสารที่ใช้สำหรับการตกลงการค้าระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย ได้แก่

ซึ่งเรามักจะจัดทำเอกสารเหล่านี้ก่อนการสั่งซื้อสินค้าและการผลิตสินค้านั่นเอง

 

2) เอกสารการขนส่ง (Transport Documents)

เป็นเอกสารประกอบการขนส่ง ซึ่งจะมีในเรื่องของรายละเอียดสินค้า ชนิด ราคา และข้อมูลที่จำเป็นในการส่งมอบสินค้าตามที่ได้รับมอบหมาย โดยเอกสารเหล่านี้มักจะเป็นที่คุ้นหูกัน ได้แก่

เป็นเอกสารที่แสดงถึงการซื้อขายกันระหว่างผู้นำเข้ากับผู้ส่งออก บอกรายละเอียดว่าใครซื้อสินค้าอะไร จำนวนเท่าไหร่ ราคาเท่าไหร่ ซื้อจากใคร แล้วส่งไปที่ไหน เอกสารนี้จะเป็นเหมือนใบเสร็จรับเงินในการยื่นรายได้รายจ่ายของทั้งผู้นำเข้าและผู้ส่งออกครับ

 

เอกสารนี้ทำขึ้นมาเพื่อให้คนที่ท่าเรือ ท่าอากาศยาน หรือการขนส่ง ใช้เป็นข้อมูลในการจัดเตรียมสถานที่ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ในการอำนวยความสะดวกในการขนส่ง ดังนั้นข้อมูลในเอกสารใบนี้ นอกจากจะบอกผู้รับผู้ส่งแล้ว ยังจะบอกด้วยว่าสินค้าอะไร น้ำหนักเท่าไหร่ ปริมาตรเท่าไหร่ เป็นต้น

 

เอกสารนี้เป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นทางรถ เรือ อากาศ ออกให้ เพื่อเป็นเหมือนใบเสร็จรับเงิน เป็นสัญญา และหลักฐานเพื่อบอกว่าจะส่งของอะไรจากที่ไหน ไปที่ไหน

ทำหน้าที่เหมือน B/L ใช้ในกรณีส่งสินค้าทางเครื่องบิน

นอกจากนี้ยังมีใบตราส่งสำหรับช่องทางอื่นๆ เช่น Truck Waybill ใบตราส่งทางรถ Train Waybill ใบตราส่งทางรถไฟ และ Parcel Waybill ใบตราส่งทางพัสดุอีกด้วย

 

 

 

3. เอกสารทางการเงิน (Financial Documents)

เอกสารเหล่านี้มักจะใช้ในกรณีที่ต้องทำธุรกรรมกับธนาคาร และเป็นหลักฐานประกอบการชำระเงินรวมถึงการขนส่ง ที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ เช่น

 

 

เอกสารที่ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้า ยื่นให้กับธนาคารเพื่อสัญญาว่าใช้คืนเงินที่ธนาคารให้กู้ โดยส่วนใหญ่เราจะใช้เอกสารนี้พร้อมกับสินเชื่อนำเข้าส่งออก เช่น Packing Credit หรือ Discount Bill Purchase 

 

4. เอกสารรับรอง (Certificates) 

มักจะเป็นเอกสารที่ใช้สำหรับรับรองคุณภาพสินค้า มาตรฐาน แหล่งกำเนิด รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อให้การนำเข้าไปประเทศปลายทางนั้นง่ายขึ้น ในกลุ่มใบรับรองนี้ อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารทุกฉบับ

ใบรับรองที่น่าสนใจ ได้แก่

เมื่อก่อนอาจจะไม่มีความสำคัญ แต่ตอนนี้สำคัญมาก เพราะการระบุแหล่งประเทศผลิตนั้น จะมีผลต่อผู้นำเข้าในเรื่องของอัตราภาษีนั่นเอง เช่น ในไทย หากนำเข้าจากอาเซียนด้วยกัน จะมีอัตราภาษีเป็น 0 แต่หากนำเข้าจากประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ ก็อาจจะมีภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

เอกสารนี้สามารถออกได้โดยกรมการค้าต่างประเทศ หอการค้า หรือแม้แต่บริษัทที่ส่งออก ขึ้นอยู่กับความต้องการของประเทศผู้นำเข้า

ไม่ว่าจะมีการตกลงกันว่าผู้นำเข้า หรือ ผู้ส่งออก เป็นผู้ชำระค่าเบี้ยประกัน แต่การส่งออกทุกครั้งต้องมีการทำประกันภัย ซึ่งมีได้ทั้งกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล และ กรมธรรม์ประกันภัยทางอากาศ เราอาจจะรู้สึกว่าตู้คอนเทนเนอร์นั้นแข็งแรงอยู่แล้ว เรือก็ใหญ่ เครื่องบินก็ไม่ค่อยมีอุบัติเหตุ แต่เราจะรู้มั้ยว่า คลื่นลมทะเล หรือหลุมอากาศนั้น แรงกว่าพาหนะเหล่านี้หลายเท่า ยังไงการทำประกันภัยก็อย่าละเลยนะครับ จ่ายเงินหลักร้อยหลักพัน แต่ความอุ่นใจหลักล้านแน่นอน

ส่วนเอกสารอื่นๆ ที่เราเคยได้ยิน เช่น พวกใบรับรองต่างๆ หรือใบอนุญาต รวมทั้งเอกสารทางการเงิน เอกสารเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาของเรากับผู้นำเข้า หรือความจำเป็นของแต่ละสินค้า เช่น

 

5. เอกสารอื่นๆ ซึ่งเป็นเอกสารเกี่ยวกับใบอนุญาต ได้แก่

Export License / Import License ใบอนุญาตนำเข้าส่งออก

เป็นเอกสารที่นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา ผู้ต้องการจะนำเข้าส่งออก ต้องไปจดทะเบียน เพื่อนำข้อมูลธุรกิจของตัวเองไปอยู่ในระบบของกรมศุลกากรก่อน จึงจะสามารถดำเนินการนำเข้าส่งออกได้

Export Permit / Import Permit ใบอนุญาตนำเข้าส่งออกเฉพาะรายสินค้า

ในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการนำเข้าส่งออกสินค้าบางรายการที่ต้องขอใบอนุญาตก่อน เช่น สินค้าอาหารที่ต้องมีอย. หรือสินค้าที่ต้องมีมอก. ผู้นำเข้าส่งออกรายนั้นต้องไปขอใบอนุญาตสินค้าเฉพาะก่อนจะนำเข้าส่งออกสินค้านั้นๆ ได้

นอกจากเอกสารข้างต้นแล้ว ยังมีเอกสารอื่่นๆ อีก ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า และประเทศคู่ค้านั่นเอง

 

สนใจเรียนนำเข้าส่งออก ติดต่อที่นี่

บทความเกี่ยวข้อง

Leave a Comment