การประกันภัยการขนส่งระหว่างประเทศ

การประกันภัยการขนส่งระหว่างประเทศ

ในการขนส่งระหว่างประเทศ มีหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางรถ ทางเรือ และทางเครื่องบิน ซึ่งแต่ละช่องทางจะมีลักษณะเฉพาะต่างกัน ซึ่งผู้นำเข้าส่งออกควรศึกษารายละเอียดให้ถ่องแท้เพื่อใช้ความคุ้มครองประกันภัยได้อย่างคุ้มค่าอีกด้วย

การประกันภัยทางเรือ

ในการขนส่งทางเรือ มีการกำหนดความคุ้มครองและจุดส่งมอบไว้ชัดเจนว่าผู้ส่งออกจะหมดภาระความเสี่ยง ณ จุดส่งมอบต้นทาง นั่นหมายความว่า หลังจากสินค้าถูกวางบนเรือแล้ว จะเป็นภาระความรับผิดชอบของผู้นำเข้าในทันที ไม่ว่าผู้นำเข้าจะซื้อประกันภัยเอง หรือผู้ส่งออกซื้อให้ก็ตาม

ฉะนั้นเมื่อเราสังเกตดีๆ ในเอกสารการประกันภัยทางเรือแทบทุกฉบับ จะระบุผู้รับผิดชอบสินค้า หรือบริษัทผู้รับเคลมค่าสินไหมเป็นตัวแทนบริษัทประกันที่ประเทศปลายทางเสมอ

อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้นำเข้าส่งออกจำนวนมากไม่รู้สิทธิต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เกิดข้อครหาหรือข้อพิพาทได้ ผู้นำเข้าส่งออกที่เข้าใจสิทธินี้อย่างถูกต้อง ควรอธิบายหรือแจ้งให้คู่ค้าทราบแต่เนิ่นๆ ก่อนทำการซื้อขายสินค้ากัน

 

การประกันภัยทางอากาศ

เป็นการรับประกันการขนส่งสินค้าผ่านพาหนะเครื่องบิน ซึ่งระยะเวลาในการเดินทางของสินค้านั้น เร็วและสั้นกว่าการเดินทางเรือมาก ดังนั้นเราจะเห็นบ่อยๆ ว่าการประกันภัยทางอากาศจะมีค่าเบี้ยประกันภัยถูกกว่าการประกันภัยทางเรือนั่นเอง

 

ปัจจัยในการคิดค่าเบี้ยประกันภัย

ในการซื้อประกันภัยนั้น บริษัทประกันภัยจะคิดค่าเบี้ยประกันแตกต่างกัน โดยมีปัจจัยที่ทำให้ค่าเบี้ยประกันถูกหรือแพงดังนี้

  1. ประเภทสินค้า หากมีการสูญเสีย หรือเน่าเสียง่าย ประกันภัยมักจะคิดแพงกว่าเสมอ
  2. ช่องทางการขนส่ง อย่างที่เปรียบเทียบการเดินเรือกับเครื่องบิน การเดินเรือมีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากใช้ระยะเวลานานกว่า ดังนั้นค่าเบี้ยประกันภัยทางเรือก็แพงกว่า
  3. เส้นทาง ในบางเส้นทางมีความเสี่ยงด้านการเดินทาง เช่น โจรสลัด โขดหิน อากาศแปรปรวน ปัจจัยเหล่านี้ถูกนำมาคำนวณ

 

ระดับความคุ้มครองประกันภัย

ในการซื้อประกันภัยนั้น ผู้รับประกันมักจะมีระดับความคุ้มครองให้แก่ผู้ทำประกัน โดยแตกต่างกันตามช่องทางการเดินเรือ และสาเหตุของการเกิดการเสียหายด้วย โดยจะแบ่งระดับชั้นโดยใช้คำว่า Clause แบ่งเป็น Clause A, Clause B, Clause C

Clause A เทียบได้กับประกันชั้น 1 ความคุ้มครองครอบคลุมแทบทุกอย่าง เช่น การถูกปล้น หรือการที่สินค้าเปียกน้ำฝน

Clause B เทียบได้กับประกันชั้น 2 ความคุ้มครองครอบคลุม เกี่ยวกับความเสียหายทางทะเลเป็นหลัก ผู้ขนส่งทางเรือนิยมเลือกประเภทนี้

Clause C เทียบได้กับประกันชั้น 3 ความคุ้มครองจำกัด แต่จำเป็น เช่น อัคคีภัย ยานพาหนะตกราง ฯลฯ จะเกี่ยวข้องกับแทบทุกยานพาหนะ

 

ขั้นตอนการซื้อประกันภัยทางทะเลและทางอากาศ

เราสามารถซื้อประกันภัยได้ทั้งผ่านทางบริษัทประกันภัย หรือ ตัวแทนจำหน่ายประกันภัยนั่นเอง

เมื่อเราต้องการจะซื้อประกัน เราสามารถส่งข้อมูลเอกสารการส่งออก หรือนำเข้า เช่น Bill of Lading, Invoice, Packing List ไปที่บริษัทประกันภัย เพื่อให้ผู้ให้บริการกำหนดราคาและแจ้งกลับมา เมื่อเราตอบรับแล้ว ความคุ้มครองก็เริ่มขึ้นทันที

โดยหลังจากซื้อประกันภัยแล้ว เราจะได้รับเอกสารที่เรียกว่ากรมธรรม์ประกันภัย ที่เราสามารถนำไปไล่เบี้ยในกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝันได้

 

สนใจเรียนนำเข้าส่งออก อ่านที่นี่

บทความเกี่ยวข้อง

Leave a Comment