ขั้นตอนการวิเคราะห์ตลาดส่งออก

ในการเลือกประเทศเป้าหมายเพื่อส่งออกสินค้านั้น ต้องพิจารณาในหลายๆ ปัจจัย โดยแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันในด้านของ สังคมและวัฒนธรรม ภาษา ประชากรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ระบบกฎหมาย เศรษฐกิจ ข้อบังคับทางการค้า อัตราภาษี นโยบายทางการค้า อัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องปรับปรุงผลิตภัณฑ์และการทำตลาดให้เข้ากับแต่ละประเทศ ขั้นตอนในการวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศมีดังนี้ 1.ศึกษาปัจจัยทางธุรกิจของประเทศนั้น ปัจจัยภายนอกของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน หากเราจะศึกษา ต้องมีแง่มุมในการวิเคราะห์ ซึ่งในเชิงบริหารธุรกิจมีหลายปัจจัย แต่โมเดลที่น่าสนใจและมีคนนิยมมาก คือ Five Force Model ซึ่งจะวิเคราะห์จาก 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) สภาวะการแข่งขันในตลาดนั้นๆ 2) ความยากง่ายของการเข้าตลาด 3) สินค้าทดแทน 4) สินค้าต้นน้ำมีอำนาจมากน้อยแค่ไหน และ 5) อำนาจต่อรองของลูกค้า หากวิเคราะห์ออกมาแล้วได้คะแนนไม่มาก ก็สามารถใช้ตลาดเหล่านั้นในการเลือกเพื่อเริ่มต้นได้เลย 2.วิเคราะห์ความต้องการของสินค้า หากคุณกำลังคิดว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าดี นั่นไม่ผิด แต่ถ้าหากคิดว่าสินค้าไทยเป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก นั่นอาจจะคิดผิด โดยธรรมชาติของนักธุรกิจไทย มักจะเข้าข้างสินค้าตัวเองว่าดี เจ๋ง แต่พอลงตลาดกลับขายไม่ออก เนื่องจากไม่สามารถชูจุดเด่นหรือจุดขายได้ หรือหากรู้จุดดังกล่าว กลับกลายเป็นว่าลูกค้าไม่ซื้อเพราะไม่ได้ต้องการสินค้าของเรา ผู้ประกอบการควรใช้เวลาวิเคราะห์สินค้าก่อนว่ามีความต้องการจริงมั้ย หรือความต้องการสินค้าคืออะไรกันแน่ แล้วค่อยไปดูว่าเราสามารถทำอะไรเพื่อพิชิตใจลูกค้าได้บ้าง นั่นน่าจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า 3.วิเคราะห์ความยากง่ายของการนำสินค้าเข้าประเทศนั้น ในบางประเทศ มีสินค้าน่าสนใจ ตลาดน่าสนใจ มีความต้องการสินค้าไทย แต่กลับไม่ค่อยมีใครนำเข้าไปขายเท่าไหร่ อีกปัจจัยอาจจะเป็นเรื่องของกฎระเบียบในการนำเข้าสินค้านั้นๆ ด้วย ฉะนั้น ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงกฎระเบียบ ขั้นตอนในการนำเข้าสินค้า รวมถึงภาษีนำเข้าของประเทศนั้นๆ ก่อนจะนำสินค้าเข้าไปขายจริง เมื่อวิเคราะห์ตลาดได้แล้ว ก็ได้เวลาลงมือวางแผนผลิตภัณฑ์กันต่อได้เลยครับ สนใจเรียนนำเข้าส่งออก อ่านที่นี่

Read More