Phytosanitary Certificate ใบรับรองปลอดแมลงและศัตรูพืช

สนใจเรียนรู้เรื่องเอกสารเพิ่มเติม เอกสารนำเข้าส่งออก สนใจคอร์สเรียนเอกสารนำเข้าส่งออก คอร์สเอกสารนำเข้าส่งออก สนใจเรียนนำเข้าส่งออก ดูคอร์สต่างๆ ได้ที่นี่ครับ  สนใจคอร์สเรียนนำเข้าส่งออก อ่านที่นี่ สนใจคอร์สเริ่มต้นนำเข้าส่งออก คลิกที่นี่

Read More

Purchase Order ใบสั่งซื้อสินค้าระหว่างประเทศ

Purchase Order ใบสั่งซื้อสินค้าระหว่างประเทศ   ใบสั่งซื้อคืออะไร ในการทำธุรกิจระหว่างองค์กร หากมีการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า เอกสารในการยืนยันคำสั่งซื้อของลูกค้า คือใบยืนยันคำสั่งซื้อ หรือเรียกว่า Purchase Order (P.O.) โดยใบสั่งซื้อนี้มีหน้าที่ยืนยันคำสั่งซื้อจากลูกค้า เพื่อให้ทราบว่าลูกค้าต้องการซื้ออะไร จำนวนเท่าไหร่ ราคาเท่าไหร่ และเป็นการยืนยันโดยลูกค้าว่าได้ทำการสั่งซื้อจริงๆ แล้ว โดยปกติ การทำใบสั่งซื้อ จะทำโดยผู้ซื้อ หรือลูกค้า เพื่อตอบรับเอกสารใบเสนอราคา (Quotation) นั่นเอง

Read More

สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับผู้นำเข้าส่งออก

ในการนำเข้าส่งออกสินค้า นอกจากการดำเนินงานในขั้นตอนพิธีการตามปกติแล้ว ยังมีอีกสิ่งที่ผู้นำเข้าส่งออกควรรู้และต้องรู้ เพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์ในการทำธุรกิจนำเข้าส่งออก โดยสิทธิประโยชน์ต่างๆ นั้น มีที่มาหรือความน่าสนใจแตกต่างกัน ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานและประเภทธุรกิจของผู้นำเข้าส่งออก

Read More

การค้นหาพิกัดอัตราศุลกากร

ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากร อีกสิ่งที่เราต้องรู้ในการนำเข้าส่งออกสินค้าคือ พิกัดอัตราศุลกากร หรือ Harmonized System Code (H.S. Code) เรียกย่อๆ ว่า HS Code ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในการนำเข้าส่งออกให้ถูกต้องตามพิธีการศุลกากร รวมถึงเป็นประโยชน์ในการหาข้อมูลนำเข้าส่งออกอีกด้วย HS Code คืออะไร ขึ้นชื่อว่าสินค้าที่ค้าขายกันทั่วโลกนั้น มีเป็นล้านๆ รายการ และหากสินค้าทั้งหลายเหล่านั้น ถูกนำเข้ามา คงต้องเหนื่อยศุลกากรในการหาว่าสินค้าตัวไหน ต้องคิดภาษีนำเข้าเท่าไหร่ ยังไม่นับว่าส่งออกมาจากประเทศไหนด้วย องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization – WCO) จึงได้หาแนวทางในการจัดหมวดหมู่สินค้าทุกอย่างบนโลกใบนี้ที่มีการค้าขายกัน และใส่รหัสสินค้าให้กับสินค้าเหล่านั้น โดยใช้ชื่อว่า Harmonized System Code เรียกย่อว่า HS Code สินค้านำเข้าส่งออกจัดหมวดหมู่อย่างไร ในการจัดการสินค้าเหล่านั้น ได้มีการแบ่งหมวดหมู่กัน โดยอาศัยหลักการของลักษณะภายนอกของสินค้า ทางกายภาพ วัสดุ ส่วนประกอบ การใช้งาน มาเป็นตัวแบ่งหมวดหมู่ ยกตัวอย่างเช่น มะพร้าว หากมาทั้งเปลือกทั้งลูก จะถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ผลไม้ แต่หากนำไปสกัดเป็นน้ำมันมะพร้าว จะถูกจัดกลุ่มในหมวดน้ำมันพืช ทำจากมะพร้าว หรือสัตว์มีชีวิต หากถูกฆ่าแล้ว ก็จะถูกจัดอยู่ในหมวดซากสัตว์ (สัตว์ไม่มีชีวิต) เป็นต้น HS Code มีประโยชน์อย่างไร การจัดหมวดหมู่สินค้านี้ ทำให้ง่ายต่อการระบุประเภทสินค้า เพื่อใช้ระบุว่าสินค้าใดควรเสียภาษีนำเข้า (อากรขาเข้า) เท่าไหร่ อย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นการรวบรวมสถิติการนำเข้าส่งออกของแต่ละประเทศอีกด้วย การจัดหมวดหมู่นี้ยังเป็นประโยชน์ในด้านการแยกหมวดสินค้าให้ง่ายขึ้นในด้านการวิเคราะห์ทางการตลาดอีกด้วย HS Code มีกี่ประเภท จัดลำดับอย่างไร ในการจัดหมวดหมู่นี้ สินค้าทุกอย่างจะมีพิกัดของมัน และจะถูกแบ่งหมวดหมู่เรียงกันตามลักษณะของสินค้า โดยใช้ตัวเลขเป็นตัวบอกรหัสทีละคู่ไล่ไปตั้งแต่ 01 ถึง 99 ดังนี้ รหัสพิกัด 2 หลัก เรียกว่า ตอน (Chapter)  ตั้งแต่รหัส…

Read More

ขั้นตอนการส่งออกกล้วยไม้สด

ขั้นตอนการส่งออกกล้วยไม้สด   สนใจคอร์สเรียนนำเข้าส่งออก อ่านที่นี่ สนใจคอร์สเริ่มต้นนำเข้าส่งออก คลิกที่นี่

Read More

การเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจนำเข้าส่งออก

สิ่งที่ต้องมีก่อนทำธุรกิจนำเข้าส่งออก ในการทำการค้าระหว่างประเทศ สิ่งสำคัญที่เราต้องไม่ลืมคือความพร้อม ยิ่งเรามีความพร้อมมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งรับมือกับความเสี่ยงของธุรกิจได้มากขึ้นเท่านั้น ในการทำธุรกิจนำเข้าส่งออกนั้น ควรดูความพร้อมทั้งหมด ได้แก่

Read More

ขั้นตอนการวิเคราะห์ตลาดส่งออก

ในการเลือกประเทศเป้าหมายเพื่อส่งออกสินค้านั้น ต้องพิจารณาในหลายๆ ปัจจัย โดยแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันในด้านของ สังคมและวัฒนธรรม ภาษา ประชากรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ระบบกฎหมาย เศรษฐกิจ ข้อบังคับทางการค้า อัตราภาษี นโยบายทางการค้า อัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องปรับปรุงผลิตภัณฑ์และการทำตลาดให้เข้ากับแต่ละประเทศ ขั้นตอนในการวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศมีดังนี้ 1.ศึกษาปัจจัยทางธุรกิจของประเทศนั้น ปัจจัยภายนอกของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน หากเราจะศึกษา ต้องมีแง่มุมในการวิเคราะห์ ซึ่งในเชิงบริหารธุรกิจมีหลายปัจจัย แต่โมเดลที่น่าสนใจและมีคนนิยมมาก คือ Five Force Model ซึ่งจะวิเคราะห์จาก 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) สภาวะการแข่งขันในตลาดนั้นๆ 2) ความยากง่ายของการเข้าตลาด 3) สินค้าทดแทน 4) สินค้าต้นน้ำมีอำนาจมากน้อยแค่ไหน และ 5) อำนาจต่อรองของลูกค้า หากวิเคราะห์ออกมาแล้วได้คะแนนไม่มาก ก็สามารถใช้ตลาดเหล่านั้นในการเลือกเพื่อเริ่มต้นได้เลย 2.วิเคราะห์ความต้องการของสินค้า หากคุณกำลังคิดว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าดี นั่นไม่ผิด แต่ถ้าหากคิดว่าสินค้าไทยเป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก นั่นอาจจะคิดผิด โดยธรรมชาติของนักธุรกิจไทย มักจะเข้าข้างสินค้าตัวเองว่าดี เจ๋ง แต่พอลงตลาดกลับขายไม่ออก เนื่องจากไม่สามารถชูจุดเด่นหรือจุดขายได้ หรือหากรู้จุดดังกล่าว กลับกลายเป็นว่าลูกค้าไม่ซื้อเพราะไม่ได้ต้องการสินค้าของเรา ผู้ประกอบการควรใช้เวลาวิเคราะห์สินค้าก่อนว่ามีความต้องการจริงมั้ย หรือความต้องการสินค้าคืออะไรกันแน่ แล้วค่อยไปดูว่าเราสามารถทำอะไรเพื่อพิชิตใจลูกค้าได้บ้าง นั่นน่าจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า 3.วิเคราะห์ความยากง่ายของการนำสินค้าเข้าประเทศนั้น ในบางประเทศ มีสินค้าน่าสนใจ ตลาดน่าสนใจ มีความต้องการสินค้าไทย แต่กลับไม่ค่อยมีใครนำเข้าไปขายเท่าไหร่ อีกปัจจัยอาจจะเป็นเรื่องของกฎระเบียบในการนำเข้าสินค้านั้นๆ ด้วย ฉะนั้น ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงกฎระเบียบ ขั้นตอนในการนำเข้าสินค้า รวมถึงภาษีนำเข้าของประเทศนั้นๆ ก่อนจะนำสินค้าเข้าไปขายจริง เมื่อวิเคราะห์ตลาดได้แล้ว ก็ได้เวลาลงมือวางแผนผลิตภัณฑ์กันต่อได้เลยครับ สนใจเรียนนำเข้าส่งออก อ่านที่นี่

Read More

อยากส่งออก ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง

  จดทะเบียนนิติบุคคล จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จดทะเบียนเกี่ยวข้องการสินค้า จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากร จดทะเบียนเพื่อขอความช่วยเหลือด้านอื่น

Read More

ขั้นตอนการส่งสินค้าไปต่างประเทศ

  ตรวจสอบเอกสารและสัญญา ผลิตสินค้า ขอใบรับรองต่างๆ เกี่ยวกับสินค้า จองเรือ จองเครื่องบิน ส่งสินค้าลงพาหนะ ขอใบรับรองถิ่นกำเนิด ส่งเอกสารทั้งหมดให้ผู้ซื้อ วางบิลและรับชำระเงิน

Read More