ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากร

ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากร

อีกสิ่งที่เราต้องรู้ในการนำเข้าส่งออกสินค้าคือ พิกัดอัตราศุลกากร หรือ Harmonized System Code (H.S. Code) เรียกย่อๆ ว่า HS Code ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในการนำเข้าส่งออกให้ถูกต้องตามพิธีการศุลกากร รวมถึงเป็นประโยชน์ในการหาข้อมูลนำเข้าส่งออกอีกด้วย

HS Code คืออะไร

ขึ้นชื่อว่าสินค้าที่ค้าขายกันทั่วโลกนั้น มีเป็นล้านๆ รายการ และหากสินค้าทั้งหลายเหล่านั้น ถูกนำเข้ามา คงต้องเหนื่อยศุลกากรในการหาว่าสินค้าตัวไหน ต้องคิดภาษีนำเข้าเท่าไหร่ ยังไม่นับว่าส่งออกมาจากประเทศไหนด้วย

องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization – WCO) จึงได้หาแนวทางในการจัดหมวดหมู่สินค้าทุกอย่างบนโลกใบนี้ที่มีการค้าขายกัน และใส่รหัสสินค้าให้กับสินค้าเหล่านั้น โดยใช้ชื่อว่า Harmonized System Code เรียกย่อว่า HS Code

สินค้านำเข้าส่งออกจัดหมวดหมู่อย่างไร

ในการจัดการสินค้าเหล่านั้น ได้มีการแบ่งหมวดหมู่กัน โดยอาศัยหลักการของลักษณะภายนอกของสินค้า ทางกายภาพ วัสดุ ส่วนประกอบ การใช้งาน มาเป็นตัวแบ่งหมวดหมู่

ยกตัวอย่างเช่น มะพร้าว หากมาทั้งเปลือกทั้งลูก จะถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ผลไม้ แต่หากนำไปสกัดเป็นน้ำมันมะพร้าว จะถูกจัดกลุ่มในหมวดน้ำมันพืช ทำจากมะพร้าว หรือสัตว์มีชีวิต หากถูกฆ่าแล้ว ก็จะถูกจัดอยู่ในหมวดซากสัตว์ (สัตว์ไม่มีชีวิต) เป็นต้น

HS Code มีประโยชน์อย่างไร

การจัดหมวดหมู่สินค้านี้ ทำให้ง่ายต่อการระบุประเภทสินค้า เพื่อใช้ระบุว่าสินค้าใดควรเสียภาษีนำเข้า (อากรขาเข้า) เท่าไหร่ อย่างไร

นอกจากนี้ยังเป็นการรวบรวมสถิติการนำเข้าส่งออกของแต่ละประเทศอีกด้วย การจัดหมวดหมู่นี้ยังเป็นประโยชน์ในด้านการแยกหมวดสินค้าให้ง่ายขึ้นในด้านการวิเคราะห์ทางการตลาดอีกด้วย

HS Code มีกี่ประเภท จัดลำดับอย่างไร

ในการจัดหมวดหมู่นี้ สินค้าทุกอย่างจะมีพิกัดของมัน และจะถูกแบ่งหมวดหมู่เรียงกันตามลักษณะของสินค้า โดยใช้ตัวเลขเป็นตัวบอกรหัสทีละคู่ไล่ไปตั้งแต่ 01 ถึง 99 ดังนี้

รหัสพิกัด 2 หลัก เรียกว่า ตอน (Chapter) 

ตั้งแต่รหัส 01 ถึง 97 มีทั้งหมด 96 ตอน (ยกเว้น รหัส 77 ไม่มีสินค้า)

รหัสพิกัด 4 หลัก เรียกว่า

HS Code กรมศุลกากร หาได้ที่ไหน

พิมพ์ใน google คำว่า ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรได้เลยครับ

 

บทความเกี่ยวข้อง