หลังจากจบโควิดแล้ว ส่งออกจะเป็นอย่างไร

ยังคงเป็นคำถามที่หลายๆ คนสงสัยว่า หลังจากสถานการณ์โควิดจบลงแล้ว ธุรกิจนำเข้าส่งออกจะเป็นอย่างไร

ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของคำว่าสถานการณ์โควิดจบ เรากำลังพูดถึงสถานการณ์ที่ จำนวนผู้ป่วยใหม่มีอัตราลดลง หลายๆ ประเทศสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้แล้ว รวมถึงการมีวัคซีนป้องกันเชื้อนี้ ซึ่งแหล่งข่าววงในก็บอกกันมาว่าใช้เวลาเร็วสุด 6 เดือน หรือประมาณเดือนกันยายน 2563 เป็นต้นไป หรือช้าสุดก็ปีหน้าเลย

ระยะเวลาจะนานเท่าไหร่ อันนี้ไม่มีใครรู้ แต่ที่รู้ๆ คือ หลังจากจบแล้ว มันควรจะเป็นอย่างไร โลกเราจะไปในทิศทางไหน แล้วเราจะส่งออกกันได้ยังไงบ้าง อันนี้น่าสนใจกว่า

เราสามารถศึกษาและคาดเดาได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศจีนตอนนี้ เพราะเป็นประเทศที่เกิดเหตุแรกๆ แต่ตอนนี้สามารถควบคุมการระบาดโรคนี้ได้แล้ว การควบคุมหมายถึงไม่ให้แพร่กระจายเพิ่มขึ้น หรือจำกัดวง รวมถึงการปฏิบัติการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ร้านอาหารต้องมีระยะห่างในการกิน หรือไปไหนมาไหนก็ต้องใส่หน้ากากอนามัยกันนั่นแหละครับ หากจะได้ผลจริงต้องมียาหรือวัคซีนมาให้แน่ใจ

ตอนนี้เราจะพบว่าหลายๆ ธุรกิจในจีนยังเงียบอยู่ บางธุรกิจอาจจะเริ่มมีลูกค้าเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ดีเท่าเก่า เป็นเพราะว่าคนยังไม่มั่นใจในสถานการณ์ว่าอาจจะเกิดขึ้นใหม่นั่นเอง รวมถึงคนทั่วๆ ไปก็ถูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปแล้ว โดยพฤติกรรมที่ถูกเปลี่ยนคือ  การเดินทางน้อยลง รวมถึงการนิยมใช้ออนไลน์มามีส่วนกับชีวิตประจำวันมากขึ้น

เรื่องออนไลน์ขออนุญาตเท้าความไปถึงปี 2003 เป็นปีที่ไข้หวัดนก หรือ โรคซาร์ส ระบาดหนัก ในจีนและฮ่องกง สถานการณ์ในตอนนั้นคนไม่นิยมออกจากบ้าน หรือหลีกเลี่ยงการกินสัตว์ปีกทั้งหลาย แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นเป็นปีที่กลุ่มธุรกิจของแจ็คหม่า ซึ่งได้แก่ อลีบาบา ให้กำเนิดธุรกิจใหม่ที่ชื่อว่า Taobao.com เว็บไซต์ขายของออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของจีนนั่นเอง และเว็บนี้แหละที่ทำให้แจ็คหม่าของเรา พลิกชีวิตจากคนรวยกลายเป็นมหาเศรษฐีนั่นเอง

สถานการณ์ตอนนั้นคนไม่กล้าออกจากบ้าน อยู่แต่ในบ้านเหมือนที่เราเจออยู่ปัจจุบันนี้ ทำให้คนเริ่มสนใจการช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการบูมในธุรกิจของจีน ทุกอย่างเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิมอีกเลย และเราก็เชื่อว่าหลังจากจบโควิดตอนนี้ น่าจะมีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นอีกก็ได้ เพราะทุกครั้งที่มีวิกฤตมักมีคนรวยขึ้นเสมอนั่นเอง

กลับมาที่พฤติกรรมของคนจีนกันต่อ คนทั่วไปเริ่มเคยชินกับการใช้ออนไลน์เข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันแล้ว เช่น การสั่งอาหารมาทานที่บ้าน ทำให้ร้านอาหารคนน้อยลง แต่เชื่อเหอะ คนเราไม่ได้จะเลิกทานอาหารนอกบ้านกันแน่นอน แต่ก็จะมีคนเริ่มสั่งอาหารมาทานในบ้านมากขึ้น (ผู้เขียนก็รู้สึกเช่นกันว่าการสั่งอาหารมาทานที่บ้านไม่ได้ไกลตัวอีกต่อไป)

นอกจากพฤติกรรมการทานอาหารแล้ว บางบริษัทหรือองค์กร ก็เริ่มรู้สึกได้ว่าการให้พนักงานของตัวเองทำงานที่บ้าน ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลว หลายๆ บริษัทในไทยจากเดิมที่กล้าๆ กลัวๆ ไม่รู้ว่าจะให้พนักงานทำงานจากที่บ้านดีมั้ย ด้วยสถานการณ์นี้ไม่มีทางเลือก เลยได้ทดลองดู ผู้เขียนเชื่อว่ามีหลายๆ องค์กรเริ่มติดใจการทำงาน (คนที่ติดใจไม่ใช่แค่พนักงาน แต่เป็นผู้บริหารด้วย) ซึ่งอนาคตอาจจะปรับเปลี่ยนไปเป็นการอนุญาตให้ทำงานที่บ้านได้เป็นครั้งคราว เช่น สัปดาห์ละ 1 วัน หรือ เดือนละ 2-3 ครั้ง ก็เป็นได้ ซึ่งสถานการณ์นี้ทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างองค์กร เช่น อีเมล ซอฟท์แวร์ทำงานร่วมกัน รวมถึงอุปกรณ์ทำงานพวกโน้ตบุ๊ค จอคอม กลับมาคึกคักอีกครั้งนั่นเอง

ผู้บริโภคขาดกำลังซื้อ

เชื่อเหลือเกินว่าหลายๆ ประเทศ ยังมีปัญหาคนว่างงานกันอยู่ เนื่องจากบางคนทำงานที่ต้องให้บริการ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ซึ่งหากคนหลายๆ กลุ่มไม่ได้ทำงาน ก็ทำให้ไม่มีเงินใช้ และเมื่อไม่มีเงินใช้ ก็ไม่มีกำลังซื้อ และก็ไม่มีการสั่งสินค้านั่นเอง ซึ่งกว่าจะกลับมาก็ต้องใช้เวลาพอสมควร

สินค้าที่จะบูมในตลาดส่งออก

อย่างไรก็ตาม จากการอัดอั้นมานานของการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่าสินค้าส่งออกบางรายการจะกลับมาบูมอีกครั้ง เราต้องไม่ลืมว่าต่อให้เศรษฐกิจไม่ดีแค่ไหน หรือคนไม่มีเงินแค่ไหน ในหนึ่งวัน หากไม่ได้เก็บผักหญ้ามากินเอง อย่างน้อยก็ต้องเสียเงินไปกับเรื่องกิน แล้วยิ่งเป็นต่างประเทศที่การเกษตรหรืออาหารไม่เหลือเฟือเท่าเมืองไทย ยิ่งขาดแคลนและต้องการเป็นอย่างมาก

แน่นอนครับ ธุรกิจที่เราคาดเดาได้ว่าจะมาแรงคืออาหารและเกษตรนั่นเอง คนต้องกินต้องใช้ ยังไงก็ต้องซื้อ และยิ่งมีแนวโน้มว่าจะมีคนต้องการมากกว่า เพราะแย่งกันซื้อ ยิ่งทำให้สินค้าอาหารมีราคาขึ้นสูงอย่างแน่นอน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะขายแพงมากขนาดนั้น เพราะอาหารเป็นสิ่งจำเป็น มีระดับราคาควบคุมไว้อยู่นั่นเอง

ตลาดส่งออกที่น่าสนใจ

ประเทศไหนที่นำเข้าอาหารเยอะๆ น่าสนใจทั้งนั้น ซึ่งได้แก่ จีน รัสเซีย และตะวันออกกลาง เพราะเป็นประเทศที่การผลิตในประเทศมีไม่พอกับการบริโภคภายในนั่นเอง

เตรียมตัวส่งออกอย่างไรดี

ผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่าอีกไม่เกิน 1 เดือน จริงๆ แล้วควรจะเป็นเดือนพฤษภาคมนี้แล้ว สถานการณ์จะคลี่คลายลง แน่นอนว่าธุรกิจที่ต้องนำพาคนต่างประเทศเข้ามา เช่น ท่องเที่ยว การบิน โรงแรม อาจจะต้องหยุดชะงักไปก่อน แต่สิ่งที่เราส่งไปหาลูกค้าต่างประเทศได้ คือการส่งออกสินค้าของเรา โดยเฉพาะอาหาร จะยิ่งบูมแน่นอน

หากเรามีความต้องการจะเริ่มต้นส่งออก คงไม่มีจังหวะไหนดีที่สุดเท่าตอนนี้อีกแล้ว การส่งออกอาหารของไทย รอวันตัดริบบิ้นเปิดประเทศเท่านั้นจริงๆ ครับ

ระหว่างนี้สิ่งที่เราทำได้คือการเตรียมตัว เรามีสินค้าพร้อมส่งออกกันรึยัง ความรู้ในการส่งออกมากพอรึยัง ระหว่างที่ปิดประเทศนี้ เราได้ทำอะไรไปเพื่อพัฒนาตนเองด้านนี้บ้าง หากยังไม่ได้ทำ เรายังมีเวลาครับ นึกซะว่าตอนนี้คือปิดเทอมใหญ่ เรามีเวลาปิดเทอมอยู่สองเดือน ผ่านไปแล้วเดือนนึง อีกเดือนนึงที่เหลือ เราสามารถเร่งสปีดได้นะครับ

หาความรู้ด้านการส่งออกได้จากที่เว็บเราได้ มีบทความมากมายให้อ่าน อ่านบทความ

หรือสนใจจะเริ่มต้นธุรกิจจริงๆ จังๆ ก็สมัครเรียนคอร์สเริ่มต้นได้ มีทั้งแบบออนไลน์ ที่เหมาะกับสถานการณ์นี้ คอร์สเรียนส่งออก

หรือสนใจเรียนแบบในคลาส ก็สามารถจองเรียนก่อนได้ รอวันที่เราสามารถเจอหน้ากันได้ เริ่มเรียนได้เลยครับ คอร์สเรียนนำเข้าส่งออก

ขอให้ทุกคนโชคดี หวังว่าเราจะได้เจอกันเร็วๆ นี้

#เรียนส่งออก #IntertraderAcademy  

บทความเกี่ยวข้อง

Leave a Comment