โอกาสของธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ

จากวิกฤตโควิดสู่โอกาสทางการตลาดที่กว้างขวาง

ผ่านมาหลายเดือนแล้วสำหรับการที่เราต้องอยู่กับบ้าน ทำงานที่บ้าน แล้วก็งดเดินทางหรือจับกลุ่มกันถ้าไม่จำเป็น ซึ่งตอนนี้มาตรการก็เริ่มมีการผ่อนคลายมากขึ้น โดยเฉพาะร้านอาหารหลายๆ แห่งสามารถเปิดให้บริการได้แล้ว แม้ว่าจะต้องมีกฎระเบียบต่างๆ เพื่อป้องกันการติดต่ออยู่นั่นเอง

ซึ่งวิกฤตนี้ ทำให้หลายๆ คนสนใจในธุรกิจอาหารมากขึ้น เพราะเป็นธุรกิจที่ทำได้ง่าย ประกอบกับการมีช่องทางการตลาดออนไลน์ รวมถึงบริการดิลิเวอรี่อยู่แล้ว ทำให้การส่งอาหารไปถึงมือลูกค้าง่ายขึ้นเยอะ และนี่เองเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจร้านอาหารเริ่มบูมมากขึ้น

แม้ในไทยเราจะฮิตเปิดร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง ชาบู หมูกระทะ และหากจะเป็นร้านอาหารก็ยังนิยมเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่าอาหารไทย อย่างไรก็ตามในต่างประเทศ ร้านอาหารไทยกลับกลายเป็นที่ต้องการมากกว่าแบบคาดไม่ถึง

ร้านอาหารไทย เทรนด์ฮิตที่กำลังมาแรง

ใครจะไปคาดคิดว่าอาหารไทยธรรมดาๆ ของบ้านเรานี่แหละ ถูกปากคนต่างชาติอย่างไม่น่าเชื่อ ผมไม่ได้พูดถึงส้มตำ หรือต้มยำกุ้ง แต่ผมกำลังพูดถึงอาหารใหม่ๆ ในสายตาต่างชาติ เช่น ผัดไทย ผัดกะเพรา และแกงเขียวหวานนั่นเอง

มีเรื่องเล่าว่าชาวต่างชาติกลุ่มหนึ่งที่นิยมในความเป็นไทยในหลายๆ เรื่องรวมถึงอาหาร เค้าก็สงสัยกันว่าคนไทยเราปกติกินต้มยำกุ้งกันเป็นอาหารหลักหรือยังไง พอเดินทางมาเที่ยวไทยก็พบว่า จริงๆ แล้วคนไทยไม่ค่อยได้กินต้มยำกุ้งนะ มันเป็นแค่เมนูถูกปากชาวต่างชาติเฉยๆ เมนูที่คนไทยนิยมกินกันมากที่สุดก็คือกะเพรานี่แหละ 

ซึ่งความร้อนแรงของเมนูใหม่ๆ เหล่านี้ ทำให้ร้านอาหารแทบทุกร้าน ต้องมีเมนูอาหารไทย ถึงแม้ว่าร้านนั้นจะเป็นภัตตาคารทั่วไป ไม่ได้ขายอาหารไทยเป็นหลักก็ตาม เราคงต้องนึกภาพว่าร้านอาหารในบ้านเราทุกร้านต้องมีเมนูต่างประเทศแบบยำแซลมอน ซูชิ หรือข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่น อาหารไทยก็ไม่ต่างกันครับ ทุกร้านต้องมีเมนูผัดไทย ผัดกะเพรา แม้จะไม่อร่อยเท่าก็ตาม

เรื่องเหล่านี้เป็นการยืนยันเป็นอย่างดีว่า ร้านอาหารไทย จะฮิตมากที่สุดในต่างประเทศแน่นอน เราอยู่ที่นี่คงไม่รู้ว่าทุกประเทศมีร้านอาหารไทย แม้เจ้าของจะไม่ใช่คนไทย (จีน เวียดนาม) หรือแม้แต่คนท้องถิ่นเองก็เปิดร้านอาหารไทยด้วย (อารมณ์เหมือนคนไทยเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นที่นี่)

การเปิดร้านอาหารไทยในต่างประเทศ

เราคงเคยได้ยินข่าวว่ามีคนร่ำรวยจากธุรกิจร้านอาหารในต่างแดนแม้ไม่ได้เปิดร้านอาหารเอง แต่เพราะเค้าทานอาหารแล้วเจอแมลงสาบในจานอาหารเค้า จึงฟ้องร้องแล้วได้รับค่าชดเชยเป็นหลักล้านบาท ซึ่งเราคงไม่ค่อยได้ยินการรับการชดเชยระดับราคานี้จากร้านอาหารในไทยเท่าไหร่ จริงอยู่ว่าผู้ประกอบการร้านอาหารจะมีความคำนึงถึงผู้บริโภคมากขึ้น อาจจะมีการชดเชยด้วยการไม่คิดเงิน หรืออะไรก็ตามแต่

ในต่างประเทศ เราไม่สามารถเปิดร้านอาหารได้เองทันที ต้องมีการควบคุมคุณภาพ จดทะเบียน ขอใบอนุญาต เรียกได้ว่าแทบจะไม่ต่างจากการทำโรงงานอาหารเลย แต่ในไทยเราสามารถเปิดร้านอาหารเองได้เลยทันที ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานของร้านอาหารในไทยกับต่างประเทศได้ดี

ก่อนจะไปเปิดร้านอาหารที่ต่างประเทศ ควรทำร้านในไทยให้แข็งแกร่งก่อน นี่คือเรื่องสำคัญของร้านอาหาร เราจะทำบริการให้ดีติดระดับโลกได้ยังไงต้องเริ่มจาก ทำในเมืองไทยให้ดีก่อนนะครับ โอเคเราเข้าใจว่ามันจะมีบางคนที่ไปเติบโตในเมืองนอกได้เลยแต่ถ้าอยากเป็นแบรนด์ระดับโลกหรือว่าทำบริการให้เหมือนกันทั่วโลกเราจะเริ่มจากเมืองไทยมันก็ได้

การควบคุมมาตรฐานของร้านอาหารไทยในต่างแดน

ร้านอาหารเนี่ยเป็นอะไรที่ค่อนข้างยากเนื่องจากมาตรฐานอาหารในเมืองไทยไม่มี เราลองสังเกตดูได้ครับว่าเราไม่มีมาตรฐานร้านอาหารเช่นร้านนี้มีความสะอาด 1 ดาว 2 ดาว 3 ดาวแล้วไม่มีการควบคุมการให้ Rating หรืออะไรทั้งนั้นเกี่ยวกับร้านอาหารนี่คือจุดอ่อนของร้านอาหารไทย ซึ่งผมจะไม่ได้พูดถึงตรงนี้แต่ผมจะพูดถึงการไปต่างประเทศ

ในหลายประเทศจะมีมาตรฐานการจัดการร้านอาหารเช่นเรื่องของความสะอาด ความอร่อย การใช้แรงงานในครัวเรือน ในเครือของเขา เพราะฉะนั้นการที่จะไปต่างประเทศ นอกจากเรื่องการหาวัตถุดิบที่ต้องใช้ของจากเมืองไทยแล้ว สิ่งที่ยากขึ้นไปอีกคือการควบคุมมาตรฐานนั่นเอง

ทางเลือกการขายสิทธิหรือแฟรนไชส์

การขายสิทธิหรือขายแฟรนไชส์อาหารไทยให้ต่างประเทศก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะว่ามีข้อดีหลายอย่าง โดยหนึ่งในข้อดีที่สำคัญก็คือว่าเราไม่จำเป็นต้องนำเข้าหรือส่งออกวัตถุดิบ เราขายไอเดีย ระบบการจัดการ และแบรนด์เท่านั้น

ลองนึกภาพตอนนี้ภาพในประเทศเรา แฮมเบอร์เกอร์ชื่อดังอย่างร้านแมคโดนัลด์มาเปิดแฟรนไชส์ที่เมืองไทย จะมีบริษัทนึงซื้อลิขสิทธิ์มาซื้อแฟรนไชส์มาจะมาเปิด Mcdonald โดยต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับต้นทางที่อเมริกาทุกปี

แฮมเบอร์เกอร์ 1 ชิ้นใช้ขนมปังจากโรงงานผลิตขนมปังในเมืองไทย เนื้อสัตว์เนื้อวัวเนื้อหมูเนื้อไก่เนื้อปลาก็ต้องสั่งจากผู้ผลิตในเมืองไทยทั้งหลาย ชีส หรือซอสอะไรพวกนี้ก็หาคนที่ทำวัตถุดิบในเมืองไทยไม่มีอะไรที่แมคโดนัลด์ส่งมาเลยครับนอกจาก ระบบในการจัดการ ระบบในการบริหารหน้าร้าน การอบรม การควบคุมคุณภาพ นอกนั้นเราทำเองหมด คนทำงานก็จ้างคนไทยทำกับเปิดสาขาในเมืองไทยโดยคนไทยทุกอย่างทำโดยคนไทยหมดเลย แต่พอสิ้นปีร้านแมคโดนัลมีกำไรครับต้องส่งกำไรที่เป็นค่าลิขสิทธิ์คืนประเทศแม่ไปคืนบริษัทแม่ไปนี่คือเหตุผลของการขายแบรนด์นะครับขายแฟรนไชส์ซึ่งมีข้อดีอย่างมากครับ

และนี่คือตัวอย่างของการเปิดร้านอาหารในต่างประเทศ คราวหน้าจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับโอกาสทางร้านอาหารไทยที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังอีกนะครับ

บทความเกี่ยวข้อง

Leave a Comment