ส่งออกมาเลเซีย ประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่โอกาสมหาศาล

ส่งออกประเทศมาเลเซีย

 

ข้อมูลทั่วไปของประเทศมาเลเซีย

มาเลเซียเป็นประเทศที่มีดินแดนอยู่สองส่วน ส่วนแรกอยู่ทางตอนใต้ของไทย ติดกับจังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส เรียกว่า มาเลเซียตะวันตก หรือ Peninsula Malaysia เป็นที่ตั้งของรัฐทั้งหมด 11 รัฐ ทางตอนใต้ติดกับประเทศสิงคโปร์

ส่วนที่สองคือฝั่งตะวันออก หรือ East Coast ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ติดกับกาลิมันตันของอินโดนีเซีย และบรูไน เป็นที่ตั้งของรัฐอีก 2 รัฐ ชื่อว่าซาบาห์ และซาราวัค

ภูมิประเทศ

มาเลเซียมีพื้นที่รวมประมาณ 330,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขาและหนองบึง ส่วนฝั่งตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ ทิวเขาสูงและเทือกเขา

ประชากร ศาสนา และการเมืองการปกครอง

ประชากรของประเทศมาเลเซียมีจำนวนประมาณ 32 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ฝั่งตะวันตกมีอยู่หลายกลุ่ม หลายเชื้อชาติ แต่ที่มากที่สุดคือชาวมาเลย์ (68%) รองลงมาเป็นเชื้อสายจีน อินเดียและอื่นๆ

ศาสนาส่วนใหญ่นับถืออิสลาม (61%) และรองลงมาคือพุทธ คริสเตียน และฮินดู

มาเลเซียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศ (คล้ายๆ กับของไทย แต่ต่างกันที่รายละเอียด)

เมืองหลวงชื่อกรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) อยู่ฝั่งตะวันตก ภาษาทางการคือภาษามาเลย์ และนิยมใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารกับต่างชาติ

มาเลเซียได้รับเอกราขจากสหราชอาณาจักรในปี 1957 และปกครองตนเองจากนั้นเรื่อยมา

 

ข้อมูลการค้าของมาเลเซีย

ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว หรือ GDP per Capita 2020 ของมาเลเซีย มีประมาณ USD 10,192 ต่อคนต่อปี (ไทย USD 7,607) สกุลเงินคือ ริงกิต (Ringgit / RM / MYR)

เวลาทำการของมาเลเซียคือ UTC+8 เท่ากับสิงคโปร์แต่เร็วกว่าไทย 1 ชั่วโมง รหัสโทรศัพท์ของประเทศคือ +60

สินค้านำเข้าของมาเลเซีย

สินค้านำเข้าที่สาคัญของมาเลเซียคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ที่ทาจากโลหะ น้ามันเชื้อเพลิง เหล็กและเหล็กกล้า น้ามันดิบ รถยนต์ ขณะที่สินค้าส่งออกที่สาคัญ คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปาล์มน้ามัน ก๊าซธรรมชาติ เคมีภัณฑ์ น้ามันเชื้อเพลิง น้ามันดิบ เครื่องจักร และผลิตภัณฑ์ที่ทาจากโลหะ

นอกจากนี้ยังนำเข้าผลไม้สด ได้แก่ ส้ม แอปเปิ้ล ลูกแพร์ ฝรั่ง มะม่วง มังคุด สับปะรดและเบอรี่อืกด้วย โดยนำเข้ามากที่สุดจากจีน สหรัฐ แอฟริกาใต้ และไทย ตามลำดับ

สำหรับธุรกิจการบริการที่โดดเด่นสาหรับไทยและมาเลเซีย ประกอบด้วยธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจด้านการแพทย์และสุขภาพ ในด้านการท่องเที่ยวมาเลเซียมองตัวเองเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวมุสลิม ในขณะที่ไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่โดดเด่นเช่นกัน ดังนั้นไทยกับมาเลเซียจึงน่าจะร่วมมือทางธุรกิจท่องเที่ยวร่วมกันได้อย่างดี

การค้าระหว่างมาเลเซียกับไทย

มาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียน เช่นเดียวกับไทย ดังนั้น การนำเข้าสินค้าจากไทย จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า สำหรับสินค้าส่วนใหญ่แทบทุกรายการ อย่างไรก็ตาม มาเลเซียนั้นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีกฎเกณฑ์ในการนำเข้าสินค้าค่อนข้างเข้มงวด จึงต้องปฏิบัติตามกฎให้ดี

สินค้าไทยที่ส่งออกไปมาเลเซ๊ย ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ ยางพารา คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า ถุงมือยาง เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ไทยนิยมนำเข้า ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์

พฤติกรรมผู้บริโภคของชาวมาเลเซียที่น่าสนใจ

  • เน้นสินค้าอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน สินค้าฟุ่มเฟือยหรูหรา
  • เทคโนโลยี นวัตกรรม IT มากกว่า พักผ่อนหรืออาหาร
  • รสนิยมหลากหลายตามกลุ่มเชื้อชาติ อิงตะวันตก
  • นิยมบริโภคอาหารสด แปรรูปเริ่มมมากชึ้น ดื่มชากับบิสกิต
  • นำเข้าอาหารจากต่างประเทศมากขึ้น สินค้าเกษตร ฮาลาล
  • ชอบทำอาหารเองที่บ้าน หรืออาหารพร้อมทาน นิยมทานอาหารนอกบ้านอาทิตย์ละครั้ง
  • นิยมเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
  • รักสุขภาพ กำลังซื้อสูง พร้อมทดลองสิ่งใหม่

โอกาสของการส่งออกสินค้าไทยไปมาเลเซีย

สินค้าที่น่าส่งออกของไทย ได้แก่ อาหารและเกษตรแปรรูป สินค้าออแกนิค สินค้าฮาลาล ผลิตภัณฑ์สุขภาพความงาม สมุนไพร ผักผลไม้สด เครื่องประดับ ของแต่งบ้าน รองเท้าและเครื่องแต่งกาย

ส่วนธุรกิจที่น่าลงทุน ได้แก่ ร้านอาหาร แฟรนไชส์ และสปา

การส่งออกดอกไม้สด ผักและผลไม้สดไปประเทศมาเลเซีย

สินค้าส่วนใหญ่มาเลเซียนิยมซื้อจากได้ ได้แก่ มะม่วง มังคุด ลำไย เงาะ มันสำปะหลัง หอมแดง หอมหัวใหญ่ พริกหยวก และพืชตระกูลถั่ว และดอกไม้ได้แก่ กล้วยไม้

หากเราสนใจส่งออกสินค้าผักและผลไม้สดไปยังประเทศมาเลเซีย ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐที่ชื่อว่า Federal Agricultural Marketing Authority (FAMA) ภายใต้กระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศมาเลเซียก่อน โดยสินค้าของเราต้องผ่านมาตรฐานด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค การแยกเกรด บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ฉลากสินค้า แหล่งกำเนิด รวมถึงใบรับรองการปราศจากศัตรูพืช (Phytosanitary) เป็นต้น

สินค้าที่เข้าข่ายครอบคลุม ได้แก่ ผลไม้สด ผักสด และดอกไม้สด ทุกชนิด โดยผู้ผลิต ค้าส่ง ค้าปลีกและผู้นำเข้าต้องอยู่ในกระบวนการขออนุญาต

การส่งออกอาหารไปประเทศมาเลเซีย

มาเลเซียนิยมใช้จ่ายสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเป็นหลัก และตลาดอาหารเป็นตลาดใหญ่เป็นอันดับสามของตลาดมาเลเซียทั้งหมด เป็นรองแค่ค่าที่พักอาศัยและค่าขนส่งเท่านั้น และเนื่องจากมีพื้นที่จำกัด มาเลเซียนิยมนำเข้าสินค้าอาหารหลากหลายชนิดจากหลายประเทศ ทั้งในเอเชีย ยุโรปและอเมริกา

ชาวมาเลเซียนิยมทานอาหารนอกบ้าน หรือทานอาหารแบบปรุงสำเร็จมากขึ้น และหากทานอาหารนอกบ้านจะซื้อจากแผงลอย ร้านอาหารข้างทางเป็นหลัก นอกจากนี้ยังนิยมอาหารแปลกใหม่ ทั้งจากตะวันตกและตะวันออกอีกด้วย เช่น อาหารไทย เวียดนาม จีน ตุรกี ญี่ปุ่น เป็นต้น

ชาวมาเลเซียโดยส่วนใหญ่เป็นมุสลิม จะไม่ทานเนื้อหมู และบางส่วนเป็นฮินดู จะไม่ทานเนื้อวัว จึงนิยมบริโภคเนื้อไก่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่ขัดกับหลักศาสนาใดๆ

ตลาดอาหารที่น่าสนใจ ได้แก่ อาหารแปรรูปซึ่งเข้ากับชีวิตประจำวันของคนรุ่นใหม่มากขึ้น อาหารนำเข้าเพราะประชากรมีรายได้สูงขึ้น อาหารฮาลาลเป็นที่นิยมมากที่สุด รวมถึงการงดดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากไม่ขัดต่อหลักศาสนา โดยนิยมซื้ออาหารไปปรุงจากซูเปอร์มาร์เก็ต โมเดิร์นเทรดมากขึ้นนั่นเอง

 

โอกาสของสินค้าฮาลาลในมาเลเซีย

ด้วยประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม สินค้าฮาลาล จึงเป็นตลาดทีร่น่าสนใจของประเทศมาเลเซียเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม มาเลเซียก็ยังมีอุปสรรคในการนำเข้าสินค้าฮาลาล เนื่องจากมีการกีดกันการค้าด้วยมราตรฐานที่ตั้งไว้สูง สำหรับสินค้านำเข้า โดยเฉพาะสินค้าจากไทย เนื่องจากมองว่ามีศักยภาพและจะเป็นคู่แข่งได้ในอนาคตนั่นเอง การนำสินค้าฮาลาลเข้าไปขายในมาเลเซีย ต้องผ่านมาตรฐานฮาลาลของมาเลเซียอีกต่อหนึ่ง

การส่งออกสินค้าสมุนไพร ยา เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์ไปมาเลเซีย

สมุนไพรเป็นกลุ่มสินค้าที่มาเลเซ๊ยนิยมนำเข้ามาก โดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ เช่น Aromatherapy, massage oil, vitamin, supplements, essential oils, beverage, energy drink, functional food, personal care products เป็นต้น

โดยนิยมนำเข้าจากจีน ฮ่องกง ไต้หวัน อินเดีย และออสเตรเลีย รวมถึงการแปรรูปเพื่อส่งออกไปยังประเทศ สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อีกด้วย

สินค้าเวชภัณฑ์ นิยมนำเข้าจากออสเตรเลีย เยอรมนี ฝรั่งเศส สหรัฐ และอังกฤษ และส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์ บรูไน อินโดนีเซ๊ย และเวียดนาม

สินค้าเครื่องสำอาง นิยมนำเข้าจากไทย สหรัฐ ฝรั่งเศส สิงคโปร์และจีน และส่งออกไปยังสิงคโปร์ อินโดนีเซียและเวียดนามเป็นต้น

การส่งออกยาไปมาเลเซีย จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาให้เรียบร้อย ทั้งยารักษาคนและสัตว์ ยาที่ต้องขึ้นทะเบียน เช่น ยาต้นแบบ ยาทั่วไป แชมพูขจัดรังแค ยาระงับกลิ่นปาก ยาที่ใช้สำหรับสัตว์เลี้ยงเป็นต้น โดยขึ้นทะเบียนได้ที่ Digicert Customer Service Department และต้องมีการขายผ่านตัวแทนในประเทศอย่างเป็นทางการ

การส่งออกอัญมณีไปมาเลเซีย

อัญมณี เป็นตลาดใหญ่มากสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยเน้นไปที่เครื่องประดับเงินและทองแท้ เนื่องจากประชากรมาเลเซียมีรายได้สูงนั่นเอง

โดยตลาดที่น่าสนใจคือการทำดีไซน์อัญมณีให้เข้าถึงชาวมาเล ฮินดูและชาวจีน เพราะแต่ละชนชาติจะมีความนิยมต่างกัน เช่น ชาวมาเลนิยมทองคำแบบหรูหรา ส่วนชาวจีนนิยมกำไลหยก แหวนหยก เป็นต้น

โอกาสของธุรกิจท่องเที่ยวไทยในมาเลเซีย

มาเลเซียเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมามากที่สุด และการท่องเที่ยวก็เป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สร้างรายได้ให้มาเลเซียอย่างมาก ถึงกระทั่งมีการจัดอันดับให้เป็นเมืองน่ามาเที่ยว รวมถึงเคยเป็นเมืองอันดับต้นๆ ที่นักท่องเที่ยวเดินทางมามากที่สุดอีกด้วย

นอกจากนี้ รัฐบาลมาเลเซียผลักดันโครงการท่องเที่ยว เช่น Malaysia Truly Asia ที่บอกว่าการมาเที่ยวที่มาเลเซียก็เหมือนได้มาเอเชียทั้งทวีปแล้วนั่นเอง รวมถึงมีการนำกิจกรรมระดับโลกเช่น Formula one มาแข่งที่มาเลเซียอีกด้วย

อีกหนึ่งโอกาสของมาเลเซียคือการเป็นหนึ่งในสมาชิกประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ (Common Wealth Nation) ที่หากประเทศในกลุ่มเหล่านี้จะเดินทางมาเที่ยวเอเชีย ก็น่าจะแวะที่มาเลเซียก่อนที่อื่น

การท่องเที่ยวของมาเลเซียนี้เป็นโอกาสของไทยในเรื่องของการไปลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยว หรือการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น ของใช้ในโรงแรม การก่อสร้างโรงแรม สปาและการนวด เป็นต้น

การติดต่อกับชาวมาเลเซีย

  1. การแต่งกาย ผู้ชายสวมชุดสุภาพแบบสากล ผู้หญิงห้ามสวมกางเกง สวมกระโปรงยาวคลุมเข่า เสื้อแขนยาว หลีกเลี่ยงสีเหลืองเพราะเป็นสีที่ใช้สำหรับกษัตริย์
  2. นามบัตร ควรเป็นภาษาอังกฤษและจีนอย่างละด้าน ใช้หมึกพิมพ์สีทอง ควรใช้มือทั้งสองข้างรับมอบ พร้อมพิจารณารายละเอียดก่อน ไม่ควรเก็บทันที
  3. การสนทนา ไม่ควรตอบคำถามทันที ควรเว้นระยะสักนิดนึงก่อนเพื่อพิจารณา
  4. การรับมอบของขวัญ การมอบใช้มือขวาเท่านั้น การรับใช้สองมือ ผู้ชายควรระมัดระวังการให้ของขวัญผู้หญิง และควรระมัดระวังอาจคิดว่าติดสินบนได้ ควรใช้กระดาษห่อสีแดงและเขียว หลีกเลี่ยงสีขาว ไม่ควรให้ที่เกี่ยวกับภาพหรือตุ๊กตาสุนัข หมู แอลกอฮอล์
  5. ข้อพึงระวัง ห้ามยืนล้วงกระเป๋า ห้ามใช้เท้าเขี่ย ห้ามใช้มือซ้ายแตะ ห้ามยืนเท้าสะเอว

เส้นทางคมนาคมในมาเลเซีย

ท่าเรือนานาชาติของมาเลเซียมีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่ Port Klang, Port of Tanjng Pelepas, Kuantian port, Penang Port, Johor Port, Kemaman Port, และ Bintulu Port

ท่าอากาศยานนานาชาติ มีทั้งสิ้น 5 แห่ง ได้แก่ Kuala Lumpur, Penang, Langkawi, Kota Kinabalu และ Kuching

 

ที่มาของข้อมูล

https://en.wikipedia.org/wiki/Malaysia

https://www.ditp.go.th

 

สนใจคอร์สเรียนเริ่มต้นนำเข้าส่งออก อ่านที่นี่ 

บทความเกี่ยวข้อง

Leave a Comment