ทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับผู้นำเข้าส่งออก

ในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศนั้น มีอีกจุดหนึ่งที่สำคัญมาก เป็นจุดที่เกิดการผิดพลาดได้ง่ายๆ และผู้ประกอบการไทยมักลืมกันเสมอ ซึ่งก็คือการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญานั่นเอง

ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น

จากคำจำกัดความดังกล่าว เราพอจะแปลความหมายได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญานั้น คือทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน แต่สามารถทำเงินให้กับธุรกิจได้ และผู้ที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าว ก็คือผู้ได้ครอบครองทรัพย์สินเหล่านั้น โดยมาจากการจดทะเบียน หรือทำอะไรสักอย่างเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ แม้ว่าผู้ครอบครองนั้นจะประดิษฐ์คิดค้นเอง ซื้อต่อ หรือ ครอบครองโดยวิธีอื่นก็ตาม

ฉะนั้นแล้วหากเราได้คิดค้นอะไรบางอย่าง แล้วมีประโยชน์ในการหารายได้ เราควรจดทะเบียนหรือกระทำการครอบครอง เพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นมาเอาเปรียบหารายได้หรือแม้กระทั่งฟ้องร้องแย่งสิทธิจากสิ่งที่เราคิดค้นนั่นเอง

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

ถ้าให้คนไทยส่วนใหญ่นึกถึงประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา เราจะนึกถึงคำว่า ลิขสิทธิ์ เป็นคำแรก และคนไทยก็แทบจะใช้คำว่าลิขสิทธิ์ แทนทรัพย์สินทางปัญญาทุกชนิด เราเคยได้ยินคำว่า “จดลิขสิทธิ์” ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะลิขสิทธิ์คือทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งนั่นเอง โดย เราสามารถแบ่งทรัพย์สินทางปัญญา เป็น 2 หมวดหลัก ได้แก่ 1) ลิขสิทธิ์ 2) ทรัพย์สินอุตสาหกรรม

1) ลิขสิทธิ์ (Copyright)

หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะกระท าการใดๆ กับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ท าขึ้น
ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกในรูปแบบอย่างใด โดยประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่กฎหมายก าหนดไว้ ได้แก่
1.1) วรรณกรรม (รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
1.2) นาฏกรรม
1.3) ศิลปกรรม
1.4) ดนตรีกรรม
1.5) โสตทัศนวัสดุ
1.6) ภาพยนตร์
1.7) สิ่งบันทึกเสียง
1.8) งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
1.9) งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
นอกจากนี้กฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย ทั้งนี้การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ครอบคลุมถึงความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้ วิธีท างาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

จากคำนิยามข้างต้น เราพอจะแปลความหมายได้ว่า ลิขสิทธิ์นั้นคือผลงานที่จับต้องไม่ได้ และเน้นทางวรรณกรรม หรือผลงานที่เป็นสื่อมากกว่าจะเป็นผลงานที่จับต้องได้ในเชิงอุตสาหกรรมนั่นเอง

โดยทรัพย์สินส่วนลิขสิทธิ์นี้ ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้า ที่ทำการค้าเกี่ยวกับเพลง ภาพยนตร์ วรรณกรรม ฯลฯ จะต้องใส่ใจ เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นจากผลงานเหล่านี้ อาจนำมาทำเป็นสินทรัพย์จับต้องได้ และสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการก็ได้

เมื่อเรานึกถึงตุ๊กตาแมวอ้วนๆ กลมๆ สีฟ้าๆ ที่มาจากญี่ปุ่น เราก็นึกโดราเอมอน ซึ่งตุ๊กตาเหล่านี้ หากเราขายกระติกน้ำ แล้วนำลายการ์ตูนนี้ไปพิมพ์บนกระติกน้ำ โดยไม่ได้ขอ หรือซื้อต่อลิขสิทธิ์จากเจ้าของ ก็ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ไปในตัว

นอกจากนี้สินค้าลิขสิทธิ์ทั้งหลาย ยังได้รับการจับตาเป็นพิเศษ หากมีการนำเข้าส่งออกเกิดขึ้น โดยเฉพาะการนำเข้า เพราะโดยทั่วไป เจ้าของลิขสิทธิ์ (Licensor) มักจะให้ผู้ซื้อลิขสิทธิ์ มีสิทธิ์จำหน่ายสินค้าของตัวเอง ในเขตประเทศของผู้ซื้อเท่านั้น เช่น บริษัทจากไทยจะซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูน เจ้าของลิขสิทธิ์มักจะนิยมอนุญาตให้สิทธิเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น และนี่เป็นเหตุให้ศุลกากรมักไม่นิยมปล่อยผ่านสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ให้แน่ใจว่า สินค้าที่นำเข้ามาเหล่านี้ ถูกต้องตามกฎหมายและได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ์แล้วนั่นเอง

ส่วนผู้ทำการค้าขายสินค้าหรือบริการนั้น อาจไม่ค่อยมีส่วนเกี่ยวข้องเท่าไหร่ แต่ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากกว่าก็คือ ทรัพย์สินอุตสาหกรรม

2) ทรัพย์สินอุตสาหกรรม (Industrial Property)

หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิต ที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึง เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า การคุ้มครองพันธุ์พืช แบบผังภูมิของวงจรรวม และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

หากเราดูความหมายด้านบนแล้ว จะพบว่าส่วนใหญ่เกี่ยวกับการผลิต การตลาด มากกว่าในส่วนของลิขสิทธิ์ ซึ่งทรัพย์สินอุตสาหกรรม แบ่งได้หลายขนิด ดังนี้

2.1 สิทธิบัตร (Patent)

คือการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นมาเป็นสิ่งแรกในโลก ไม่เคยมีใครคิดค้นมาก่อน หรือนำของที่มีมาดัดแปลงให้ดีขึ้น แบบนี้เรียกว่าสิทธิบัตร ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราย้อนกลับไป 100 กว่าปีก่อน มีผู้ประดิษฐ์คิดค้นโทรศัพท์ได้คนแรกของโลก 50 ปี ถัดมาก็เป็นคอมพิวเตอร์ ยังไม่นับพวกสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เครื่องเล่นเกม ตู้เย็น หรือเครื่องพิมพ์ดีดนั่นเอง

สิทธิบัตรนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

(1) สิทธิบัตรการประดิษฐ์ คือการคุ้มครองสิ่งที่คิดค้นมาทั้งโครงสร้าง กลไกล กรรมวิธีการเก็บรักษา การปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์

(2) อนุสิทธิบัตร คือ สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ยังไม่มีความซับซ้อนมากนัก อาจเกิดจากการดัดแปลงจากสิ่งประดิษฐ์เดิมอยู่

(3)  สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ คือความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์ ลวดลาย สี รวมถึงหัตถกรรมทั้งหลาย

ซึ่งการเป็นเจ้าของสิทธิบัตรนี้ เกิดจากการจดทะเบียนครอบครองเท่านั้น ผู้จดสิทธิบัตรต้องมีเอกสารอ้างอิงว่าเป็นเจ้าของผลงาน และนำไปจดทะเบียน โดยการจดทะเบียนนี้สามารถบังคับใช้ได้ทั่วโลก ด้วยกฎหมายเดียวกัน และมีความคุ้มครอง 20 ปี สำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และคุ้มครอง 10 ปี สำหรับอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรการออกแบบฯ ซึ่งทั้ง 3 ประเภท ไม่สามารถต่ออายุได้

2.2 เครื่องหมายการค้า (Trademark)

หมายถึง ตรา สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับสินค้าหรือบริการ หรือคนไทยเรียกง่ายๆ ว่า “โลโก้” ซึ่งมีความหมายรวมถึง สัญลักษณ์ สี ชื่อเรียก ที่มารวมกันแล้วทำให้เกิดภาพจำบางอย่าง บ่งบอกถึงความเป็นแบรนด์นั้นๆ ได้ เครื่องหมายการค้าแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. เครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าที่จับต้องได้ เช่น น้ำดื่ม เครื่องสำอาง อาหาร
  2. เครื่องหมายบริการ สำหรับบริการที่จับต้องไม่ได้ เช่น สายการบิน โรงพยาบาล
  3. เครื่องหมายรับรอง สำหรับรับรองบุคคลอื่นๆ เช่น มาตรฐานสินค้า มาตรฐานความอร่อย
  4. เครื่องหมายร่วม สำหรับการรวมเครื่องหมายการค้า 2 ชนิดขึ้นไป โดยรวมกันจากความร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย

2.3 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Indicator)

คือการระบุแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นนั้นๆ โดยอาศัยสิ่งที่เป็นปัจจัยการผลิตจากท้องถิ่นนั้น เช่น สินค้าเกษตรก็จะต้องดูดิน เมล็ดพันธ์ น้ำ อากาศ เป็นต้น หรือสินค้าอาหารก็จะดูพวกกรรมวิธีการผลิตที่เป็นความรู้เฉพาะทางสำหรับสินค้านั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น Champagne เครื่องดื่มที่ทำมาจากไวน์ผสมโซดา ทั่วโลกเรียกกันว่า Sparkling Wine แต่เครื่องดื่มที่สามารถเรียกว่า Champagne ได้นั้นก็ต่อเมื่อผลิตจากพื้นที่และอาศัยปัจจัยการผลิตจากแคว้นๆ หนึ่งในฝรั่งเศสเท่านั้น

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินทรัพย์ทางปัญญาชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากผู้ประกอบการสามารถครอบครองทรัพย์สินทางปัญญานี้ได้แล้ว ก็ทำให้ขายสินค้าโดยมีคู่แข่งน้อยลง หรือแทบไม่มีเลยนั่นเอง

สินทรัพย์อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่

2.4 แบบผังภูมิวงจรรวม

2.5 ความลับทางการค้า

2.6 ชื่อทางการค้า

ข้อเสียของการไม่ครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา

การที่เรามีสิทธิในผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ต่างๆ ที่เราคิดค้นขึ้นมา แต่ไม่ได้อ้างสิทธิ จะมีผลเสียที่ตามมาคือ ทำให้สินค้าหลายๆ แบรนด์ ไม่สามารถนำไปขายในประเทศเป้าหมายปลายทางได้ มิหนำซ้ำ หากเรานำผลิตภัณฑ์นั้นไปขาย อาจโดนข้อหาละเมิดทรรัพย์สินทางปัญญาได้ แม้เราจะเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดังกล่าวก็ตาม เหมือนอย่างแบรนด์ Apple ที่ในช่วงแรกไม่สามารถนำไปขายในจีนได้ เพราะมีผู้หวังดีไปจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไปเรียบร้อยแล้ว

แม้ปกตินิสัยของคนไทยคือ เป็นคนง่ายๆ ไม่คิดอะไรมากเกี่ยวกับการที่ใครจะมาลอกเลียนแบบ หรือจะไปลอกเลียนแบบใคร ทำให้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องที่ถูกคนไทยละเลย อาจจะเกิดจากการไม่ระวัง ไม่คิดครอบครอง หรือไม่คิดจะสนใจในรายละเอียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้คนไทยเสียสิทธิ์หลายๆ อย่างที่ควรจะได้ ฉะนั้นแล้ว การจะนำผลิตภัณฑ์เราไปขายในต่างประเทศ หรือแม้แต่นำเข้าสินค้านั้นมาขายในไทย เราก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และบทความนี้จะนำพาให้ผู้ประกอบการสนใจและใส่ใจในทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น

แหล่งข้อมูล

http://www.ipthailand.go.th/images/2562/Suppress/lesson1.pdf

http://www.suric.su.ac.th/ทรัพย์สินทางปัญญา/

https://en.wikipedia.org/wiki/Champagne

บทความเกี่ยวข้อง

Leave a Comment