การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ผมเชื่อว่านี่เป็นเรื่องที่แม้แต่คนทำงานมานานแล้วก็ยังผิดพลาดได้ ไม่ต้องพูดถึงมือใหม่ที่ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ ผมก็เคยมีหลายครั้งที่คำนวณราคาขายให้ลูกค้าไปแล้วมารู้ทีหลังว่า อ้าวเราขายขาดทุนนี่ ทีนี้เราจะป้องกันยังไงไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้บ้าง มาดูแนวทางกันครับ

1. รู้ให้แน่ชัดว่าต้นทุนเราคือเท่าไหร่

เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ทุกคนก็พลาดกัน ถ้าเราไม่รู้แน่ชัดว่าต้นทุนเราเป็นเท่าไหร่ เราจะรู้ัได้ยังไงว่าราคาขายควรเป็นเท่าไหร่ สำหรับต้นทุนที่เราต้องรู้คือ ต้นทุนสินค้า ค่าขนส่ง ค่าแพ็กของ อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

2. ตั้งราคาเผื่อต่อรอง

หลายๆ ครั้งที่เรามักจะเจอการต่อรองจากลูกค้าแบบคาดไม่ถึง ที่คลาสสิคที่สุดคือ ลูกค้ามาโม้ว่าจะสั่งเยอะมากๆ ขอราคาดีๆ แต่พอเอาเข้าจริงสั่งนิดเดียว แล้วก็มาเนียนๆ ว่าจะเอาราคาเดียวกับที่ซื้อเยอะๆ ตอนแรก พอเราไม่ให้ ก็ว่าหาเราขายแพง ไม่ลดให้เค้า เค้าไปซื้อเจ้าอื่น นี่ไงครับที่ผมบอกว่าต้องเผื่อราคาไว้ด้วย

3. ทำบัญชีแยกออเดอร์ทุกครั้ง

ผมไม่แน่ใจว่าใครทำมั้ย แต่ผมทำนะครับ ผมทำไปว่าแต่ละออเดอร์ ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง สรุปแล้วเป็นเงินกำไรขาดทุนเท่าไหร่ ทำตาราง excel ง่ายๆ เลยครับ ทำแบบฟอร์มครั้งเดียว ใช้ได้ตลอด ไม่ต้องกลัวเสียเวลา

ผมว่าแค่ 3 เทคนิคนี้ก็ช่วยป้องกันไม่ให้เราขาดทุนได้เยอะแล้วนะครับ

ตราสารการเงิน

ค่าเงินบาทแข็งทำไงดี

เป็นอันที่รู้กันในตอนนี้ว่าค่าเงินบาทของไทยแข็งค่ามากๆ เมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ (เอาเงินดอลล์มาแลกเงินไทยได้น้อยลง) ซึ่งผลเสียนั้นจะทำให้เราค้าขายได้เงินน้อยลงเมื่อเราส่งออกสินค้า แต่ในทางกลับกัน ผู้นำเข้าก็ยิ้มเลย เพราะจะซื้อของได้ในราคาถูกลงอีกด้วย สำหรับเรื่องค่าเงินนี้ เป็นปัจจัยที่มีมานานแล้ว ซึ่งผู้เขียนถือว่าเป็นปัจจัยที่ไม่แปลกใหม่ และสามารถบริหารจัดการได้
ในฐานะของนักธุรกิจระหว่างประเทศ เราควรจะบริหารจัดการมัน มากกว่าการมานั่งพร่ำบ่นนะครับ และนี่คือสิ่งที่นักธุรกิจระหว่างประเทศที่ดีทำกัน มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1. ซื้อตราสารทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยง

เนื่องจากเราเป็นนักธุรกิจ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการรู้ว่าเราจะได้รับเงินเท่าไหร่ การป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ Forwards, Options นั้น จะช่วยให้เราคาดการณ์รายได้เราง่ายขึ้น

บางท่านอาจจะแย้งว่า การซื้อพวกนี้ เราต้องเสียค่าธรรมเนียม และหากค่าเงินอ่อนลง เราจะเสียโอกาสในการได้กำไรจากค่าเงินมากขึ้น ไม่ใช่หรือ

ในตลาดทางการเงินนั้น เราสามารถคาดเดาได้ว่าค่าเงินจะขึ้นหรือลง แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าจะขึ้นลงเท่าไหร่ และอาชีพหลักของเราคือการทำธุรกิจ กำไรจากธุรกิจน่าจะเป็นทางหลักมากกว่ากำไรจากการเก็งค่าเงิน จริงมั้ยครับ

เปิดบัญชีเงินฝาก

2. เปิดบัญชีเงินต่างประเทศไว้

นักธุรกิจบางราย ใช้วิธีทำธุรกิจข้ามชาติซะเลย คือเมื่อส่งออกไปเท่าไหร่ ก็ทำในประเทศเท่านั้น เงินที่ได้จากการส่งออกก็เก็บไว้ในรูปเงินดอลล์ รายได้ในประเทศ ก็เอามาจ่ายซัพพลายเออร์ในประเทศด้วยเงินบาทแทน ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าค่าเงินจะขึ้นหรือลง

นำเข้า

3. นำเข้าสินค้ามาขาย

ในเมื่อการส่งออกมีปัญหานัก หลายๆ คนก็ใช้วิธีนำเข้ามาเองเลย หรือเน้นที่การนำเข้าแทนในช่วงที่ค่าเงินแข็ง ก็ถือเป็นทางออกที่ไม่เลวเลย

4. ไม่ทำอะไรเลย

สุดท้ายแล้วก็มีจะมีหลายๆ ท่านที่ไม่สนใจทำอะไรเลย เพราะไม่ว่าเงินดอลล์จะแลกได้กี่บาท ก็ต้องแลกอยู่ดี เพราะต้องการใช้เงินด่วนๆ อันนี้ก็แล้วแต่ธุรกิจของท่านเองว่าต้องการอะไรมากกว่ากัน

แต่หากคุณอยากรู้เรื่องส่งออกนำเข้ามากกว่านี้ ทำกำไร ตัดขาดทุน ให้ลองเข้าคอร์สเรียนส่งออกได้นะครับ

สนใจคอร์สเรียนนำเข้าส่งออก คลิกที่นี่

บทความเกี่ยวข้อง

Leave a Comment