สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับผู้นำเข้าส่งออก

ในการนำเข้าส่งออกสินค้า นอกจากการดำเนินงานในขั้นตอนพิธีการตามปกติแล้ว ยังมีอีกสิ่งที่ผู้นำเข้าส่งออกควรรู้และต้องรู้ เพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์ในการทำธุรกิจนำเข้าส่งออก โดยสิทธิประโยชน์ต่างๆ นั้น มีที่มาหรือความน่าสนใจแตกต่างกัน ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานและประเภทธุรกิจของผู้นำเข้าส่งออก

สิทธิประโยชน์ผู้นำเข้าส่งออกมีอะไรบ้าง

สิทธิประโยชน์สำหรับผู้นำเข้าส่งออกมีหลายประเภท แต่หากนึกถึงสิทธิที่ใช้บ่อยนั้นมีอยู่ทั้งหมด 8 ประเภท ดังนี้

1) คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse)

คลังสินค้าทัณฑ์บน คือ พื้นที่พิเศษ ที่กรมศุลกากรอนุญาตให้ผ่อนผัน การชำระภาษีนำเข้า โดยสามารถนำสินค้าที่นำเข้ามาแล้ว มาเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยยังไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า (อากรขาเข้า) เมื่อผู้นำเข้าพร้อมในการชำระภาษีแล้ว จึงดำเนินพิธีการศุลกากรนำเข้ามาปกติ ในบางกรณี หากผู้นำเข้าไม่ประสงค์จะนำเข้ามาในราชอาณาจักร สามารถส่งออกต่อไปประเทศอื่นๆ ได้เช่นกัน โดยไม่ต้องชำระค่าภาษีขาเข้าแต่อย่างใด

2) นิคมอุตสาหกรรมปลอดอากร (I-EAT)

นิคมอุตสาหกรรมในไทยนั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือประเภททั่วไป และประเภทปลอดอากร โดยประเภทปลอดอากรนี้ ขึ้นตรงกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยได้รับการอนุญาตจากกรมศุลกากร ในการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี เช่น ภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เพื่อการผลิตและส่งออกไปต่างประเทศ

3) เขตปลอดอากร (Free Zone)

เป้นพื้นที่พิเศษสำหรับการผ่อนผันหรือยกเว้นการเก็บอากร เนื่องจากได้รับสิทธิพิเศษในการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ โดยกรมศุลกากรสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องของกฎระเบียบและขั้นตอนพิธีการนำเข้าส่งออกตามปกติ มีเฉพาะเรื่องภาษีที่ได้รับการยกเว้นต่างจากพื้นที่ทั่วไป

4) การส่งเสริมการลงทุน BOI

ในการส่งเสริมการลงทุนของไทยนั้น มีไว้สำหรับให้บริษัทต่างชาติ หรือบริษัทในไทย นำเงินมาลงทุนเพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจไทยและทั่วโลก โดยได้รับการอนุมัติจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เพื่อมอบสิทธิเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงภาษีขำเข้าอีกด้วย

5) ชดเชยอากร ตามมาตรา 28

สำหรับผู้ส่งออกสินค้า กรมศุลกากรได้ให้สิทธิพิเศษเนื่องจากผู้ส่งออกสินค้าบางรายชำระภาษีหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ซ้ำซ้อน จึงมีการชดเชยอากรให้นั่นเอง ชื่อเดิมของการชดเชยอากรคือ ชดเชยมุมน้ำเงิน

6) การขอคืนอากร ตามมาตรา 29

ในกรณีผู้ผลิตสินค้าที่มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามา หากมีการเสียภาษีขาเข้าไปแล้ว เมื่อส่งออกสินค้าที่มีต้นทุนภาษีขาเข้านั้น สามารถนำมาขอคืนภาษีอากรขาเข้าได้ โดยต้องมีการสอบถามและตกลงกับศุลกากรก่อน

7) การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

การส่งออกสินค้า ไม่มีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้นำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นผู้ส่งออกจึงมีสิทธิในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เช่นกัน

8) Re-Export

ในบางครั้งการขายสินค้ากับต่างประเทศ ต้นทางของสินค้าอาจไม่ได้อยู่ในไทย และเป็นการซื้อจากประเทศที่สาม ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำการค้า จึงมีช่องทาง Re-Export เพื่อให้การค้ากับต่างประเทศทำได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

หากท่านสนใจรู้ลึกเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถติดตามเราได้ทุกช่องทาง หรือหากสนใจคอร์สเรียน สามารถดูรายละเอียดได้ที่ หลักสูตรสิทธิประโยชน์ของผู้นำเข้าส่งออก

บทความเกี่ยวข้อง

Leave a Comment