รู้จักกรมศุลกากร

กรมศุลกากร

สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการนำเข้าส่งออก หรือผู้สนใจนำเข้าส่งออก น่าจะเคยได้ยินหน่วยงานที่ชื่อว่า ศุลกากร ซึ่งในไทยมีสถานะเป็นกรม ชื่อว่า กรมศุลกากร กันแล้ว แล้วกรมศุลกากรนี้เป็นใคร ทำหน้าที่อะไร เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกอย่างไร เรามาเจาะลึกกันในบทความนี้ครับ

ศุลกากรคือใคร

ศุลกากร หรือ กรมศุลกากร เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง

กรมศุลกากร มีหน้าที่อะไร

มีหน้าที่หลักคือการอำนวยความสะดวกและกักกันสินค้าเข้าออกระหว่างประเทศ

ความเป็นมาของศุลกากร

จากการบันทึกทางประวัติศาสตร์ ศุลกากรเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ในขณะนั้นยังไม่มีการประกอบกันอย่างละเอียด และไม่มีการเก็บภาษีอากรศุลกากร

ถัดมาในสมัยอยุธยา มีการเก็บภาษีอากร ที่เรียกภาษาสมัยนั้นว่า “จกอบ” ในอัตราร้อยละ 10 หรือเรียกว่า สิบชักหนึ่ง โดยเก็บค่าปากเรือหรือภาษีเบิกร่อง นอกจากนี้ยังมีด่านเก็บภาษีเรียกว่า “ขนอน” อีกด้วย โดยนายเรือจะต้องแจ้งรายการสินค้าที่ขนถ่ายมาทางเรือกับทางด่าน (เหมือน Manifest) ในปัจจุบัน

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการเปลี่ยนแปลงการเก็บอากรหลายครั้ง เนื่องจากการเข้ามามีบทบาทในการค้าระหว่างประเทศของชาวยุโรปหลากหลายชาติ ไม่ว่าจะเป็นในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการตั้งอากรหลายประเภท มีการให้เอกชนรับสัมปทานผูกขาดการเก็บภาษีแล้วส่งค่าสัมปทานให้รัฐแทน โดยเก็บในอัตราจากปากเรือวาละ 1,700 บาท และเปลี่ยนมาเป็นอัตราร้อยชักสาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 แทน

เมื่อการเก็บอากรทำให้ประเทศไม่ได้รับเงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้ยกเลิกระบบผูกขาดอากรและปฏิรูประบบราชการโดยจัดตั้งกรมศุลกากร (ศุลกสถาน) มาจัดเก็บภาษี

จากนั้นได้มีการจ้างคนอังกฤษมาร่างกฎหมายศุลกากรในสมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2452) แล้วเสร็จและประกาศใช้ในสมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2469) และประกาศยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ในปี พ.ศ. 2560

บทบาทหน้าที่ของศุลกากรมีอะไรบ้าง

นอกจากเรื่องการเก็บภาษีอากรขาเข้าขาออกแล้ว กรมศุลกากรยังมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการทำให้ขั้นตอนการนำเข้าส่งออกสินค้า สะดวกรวดเร็ว และโปร่งใสขึ้นอีกด้วย โดยศุลกากรมีหลักเกณฑ์ในการทำงานได้แก่ Facilitation and Control

กฎหมายที่เกี่ยวข้องการศุลกากร

ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออกนั้น กรมศุลกากรอาศัยอำนาจตามกฎหมายหลายฉบับ แต่ฉบับหลักๆ นั้นมีอยู่ 3 ฉบับ ได้แก่

  1. กฎหมายศุลกากร ปัจจุบันใช้ฉบับ พ.ศ. 2560
  2. กฎหมายพิกัดอัตราศุลกากร
  3. กฎหมายว่าด้วยของต้องห้ามต้องกำกัด

นอกจากตรากฎหมายแล้ว กรมศุลกากรมีอำนาจในการออกประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำงาน และการอนุญาตต่างๆ ในกรณีพิเศษอีกด้วย

อ่านกฎหมายทั้งหมด คลิกที่นี่ 

การจัดเก็บภาษีของศุลกากร

ศุลกากรไทยนั้นได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization – WCO) เมื่อได้เข้าเป็นสมาชิกแล้ว การปฏิบัติงาน หรือขั้นตอนต่างๆ ก็จะต้องอิงกับ WCO มากขึ้นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การเข้าร่วม Kyoto Convention หรืออนุสัญญาเกียวโต ที่ส่งเสริมให้พิธีการศุลกากรนั้นใช้อิเลคทรอนิกส์มากขึ้น อันเป็นที่มาของระบบ Paperless ของศุลกากรไทยนั่นเอง

ในการจัดเก็บภาษีอากรของศุลกากรนั้น ยังต้องคำนึงถึงประเภทหรือชนิดสินค้าด้วย โดยใช้หลักการ Harmonized System Code (H.S. Code) ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก มาเป็นหลักเกณฑ์ในการตีความชนิดของสินค้า โดยแต่ละชนิดของสินค้า จะถูกเก็บภาษีอากรในอัตราที่ไม่เท่ากัน ตามความจำเป็นในการนำเข้าของแต่ละประเทศ

อัตราอากรก็เป็นอีกปัจจัยในการงด ยกเว้น หรือเพิ่มเติม ในการเก็บอากรทั้งขาเข้าและขาออก โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การเก็บอากรนั้นคือสถานการณ์ความต้องการในตัวสินค้านั้นๆ ของแต่ละประเทศ รวมถึงการทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น FTA

อีกปัจจัยที่จะมีผลต่อภาษีอากรคือราคาสินค้า โดยทั่วไปการคำนวณราคาสินค้านำเข้านั้น หากมีการผิดเพี้ยนก็จะทำให้ผู้นำเข้าแต่ละรายเสียภาษีไม่เท่ากัน เนื่องจากราคาต้นทุนไม่เท่ากัน ซึ่งศุลกากรจะต้องอาศัยราคาอ้างอิงในการตรวจสอบว่าราคานั้นเหมาะสม โดยราคาดังกล่าวเรียกว่า ราคาศุลกากร (GATT) นั้นเอง

สนใจคอร์สเรียนนำเข้าส่งออก คลิกที่นี่

บทความเกี่ยวข้อง

Leave a Comment